กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจาก ความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโรงเรียนอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 1

Authors

  • โศรยา สาและ นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10900
  • สุดารัตน์ สารสว่าง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10900

Keywords:

กระบวนการนิเทศภายใน, จังหวัดชายแดนภาคใต้, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 1, INTERNAL SUPERVISION PROCESS, SOUTHERN BORDER PROVINCES, OFFICE OF YALA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพ การดำเนินการตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การสอนและขนาดโรงเรียน ที่แตกต่างกัน รวมทั้งศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอำเภอกรงปินัง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคือข้าราชการ ครูในอำเภอกรงปินังจำนวน 105 คน กลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์คือข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ 11 ปี ขึ้นไปจำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า F-test t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการตามกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนทั้งห้าด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการสร้างความเข้าใจให้ความรู้ ด้านการดำเนินการนิเทศ ด้านการ สร้างขวัญและกำลังใจ และด้านการประเมินผลการนิเทศ ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนอำเภอ กรงปินัง โดยภาพรวมและแต่ละด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีประสบการณ์ การสอนต่างกันเกี่ยวกับการดำเนินการนิเทศภายในทั้งในภาพรวมและแต่ละด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ส่วนความคิดเห็นของครูที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกันโดยภาพรวมและแต่ละด้านพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ยกเว้นด้านการวางแผนการนิเทศไม่แตกต่างกัน ส่วนแนวทางและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับการดำเนิน การตามกระบวนการนิเทศภายใน พบว่า 1) ควรมีการสำรวจปัญหาและความต้องการครูในพื้นที่ก่อนการ นิเทศ 2) ควรจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการนิเทศภายใน และวิธีการนิเทศแบบใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับบริบท ของปัญหาในสถานการณ์จริง ให้บริการแก่ครูเป็นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาตนเอง 3) ควรมี การนิเทศภาคเรียนละ 2 ครั้งและใช้วิธีที่เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียนและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ 4) ควรให้รางวัลเป็นกำลังใจแก่ครูด้วยความยุติธรรม 5) ควรตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคก่อนและหลัง การปฏิบัติงานนิเทศ

 

The objectives of this research were to study and compare the conditions of the internal supervision process according to the opinions of teachers from different experiences and school sizes, including the study to guidelines and recommendations regarding the internal supervision process of schools affected by the violence in the three southern border provinces of schools in Krongpinang under the Office of Yala Primary Education Service, Area 1. The questionnaire respondent sample group included 105 teachers in Krongpinang District, with an additional sample of interviews of 10 teachers with more than 11 years’ experience of teaching. Data were collected by means of questionnaires and through interviews using semi-structured interview form. The data were then analyzed by means of percentage, mean, standard deviation, F-tests, t-tests and content analysis.

The research results were that the conditions of the internal supervision process of schools can be divided into five aspects, namely: planning, informing, directing, reinforcing and evaluating. Overall, each aspect was rated at high levels of appropriateness, except for the informing process, which was rated at a moderate level. The comparison of opinions of teachers with different teaching experience, both overall and in each aspect, was found to be “not different”. The comparison of opinions of teachers working in different school sizes, both overall and each aspect, was found to be significantly different at .05, except for in regards to the planning process, which was found to be “not different”. The guidelines for internal supervision are as follows: 1) Problems and needs assessment survey among teachers in the area should be made before the beginning of annual supervision process. 2) Training courses should be organized so that teachers are knowledgeable about internal supervision and new supervision practices that are suited to real contexts and situations. Schools should also provide services to teachers such as teaching media, printed media or online media for teachers’ self-development at home during school recesses after each violent situation. 3) Provide supervision sessions twice each semester and apply appropriate and flexible supervision methods that suit to the school sizes and situations. 4) Inspirational rewards should be provided fairly to teachers. Moreover, evaluation of problems and obstacles should be conducted before and after the supervision operation.

Downloads

How to Cite

สาและ โ., & สารสว่าง ส. (2015). กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจาก ความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโรงเรียนอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 1. Journal of Education Studies, 43(1), 128–138. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32659