การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Authors

  • มัลลิกา เกตุชรารัตน์ นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการ ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
  • วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ อาจารย์ประจำสาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10900

Keywords:

LECTURERS COMPETENCIES, KASETSART UNIVERSITY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) กำหนดสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 2) ศึกษาสมรรถนะที่มีอยู่จริงของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามที่กำหนดใน วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรง คุณวุฒิการสัมภาษณ์จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 351 คน เลือกโดยการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีดังนี้ 1) สมรรถนะด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน 2) สมรรถนะด้านการวิจัย 3) สมรรถนะด้านการให้บริการ วิชาการ 4) สมรรถนะด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้จากการศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหา ค่าเฉลี่ยตำสุด ดังนี้ สมรรถนะด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน สมรรถนะด้านการวิจัย สมรรถนะ ด้านการให้บริการวิชาการ และสมรรถนะด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า อาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาโทและเอกมีสมรรถนะอยู่ในระดับมาก วุฒิปริญญาตรีมีสมรรถนะอยู่ใน ระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการสอน พบว่า อาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอน มากกว่า 25 ปีมีสมรรถนะอยู่ในระดับมากทุกด้าน

 

The objectives of this research were to determine the desirable competencies of KU lecturers and to examine the existence of desirable competencies of KU instructors as classified by educational qualifications and work experience. A sample of five experts was purposively selected, while 351 lecturers were randomly selected. The data, collected from the interviews of five experts and 351 questionnaire returns from the lecturers, were analyzed by using content analysis for qualitative data from the interviews; and percentage, mean, and standard deviation for quantitative data from the questionnaire returns.

The research found that the desirable competencies of Kasetsart University lecturers consisted of the following attributes: 1) curriculum and instruction techniques competency, 2) research competency, 3) academic service competency, and 4) arts and culture preservation competency. In addition, the overall rating of the desirable competency was at the high level. Those attributes were ranked from the highest mean score as curriculum and instructional ability, research, academic services, and arts and cultures maintenance. The competencies of the lecturers classified by their educational qualifications were found to be rated at high levels for those lecturers with master’s or doctoral degrees backgrounds, and at moderate levels for those with bachelor degrees. When classified by teaching experience, it was found that lecturers with more than 25 years’ teaching experience were at the high level in all individual aspects.

Downloads

How to Cite

เกตุชรารัตน์ ม., บัวสุวรรณ พ., & วิจิตรพัชราภรณ์ ว. (2015). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Journal of Education Studies, 43(1), 112–127. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32658