ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงาน ของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก

Authors

  • มัทนา นิถานานนท์ นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิตหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
  • สนั่น ประจงจิตร อาจารย์ประจำสาขาวิชา การบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900

Keywords:

ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, ผลการปฏิบัติงาน, โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก, SERVANT LEADERSHIP, JOB PERFORMANCE, WORLD MORALITY REVIVAL PROJECT

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสาน งานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 537 คน คือผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการผู้รับผิดชอบโครงการในโรงเรียนดังกล่าวตั้งแต่ครั้งที่ 1-8 กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาด จากตารางสำเร็จรูปของ Yamane ได้ 222 คน เลือกโดยวิธีการการสุ่มหลายขั้นตอน เลือกผู้ตอบแบบ เจาะจงโรงเรียนละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมา จำนวน 195 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของภาวะผู้นำใฝ่บริการของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรม โลกโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีองค์ประกอบด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคคลค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงสุด รอง ลงมาคือการสร้างชุมชน ส่วนการฟังมีค่าเฉลี่ยในอันดับตำที่สุด 2) ระดับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสาน งานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกโดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในอันดับสูง โดยองค์ประกอบด้านกิจวัตร ประจำวันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงที่สุด รองลงมาคือด้านกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ส่วนด้านการจัดการ เรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับตำที่สุด 3) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรม โลกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

The objectives of the research were to study: 1) levels of servant leadership of coordinating teachers of the World Morality Revival Project, 2) job performance of the teachers, and 3) the relationship between servant leadership and the job performance of the teachers. The population consisted of 537 directors and assistant directors in charge of the World Morality Revival Project of those schools which applied from the first to the eighth rounds. A sample of 222 personnel, according to the Yamane table at 95% confidence level, was selected by means of a stratified random sampling method. The instrument was a questionnaire constructed by the researcher. 195 questionnaire copies, or 87.84 percent, were returned and usable. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient.

The results of the research were as follows: 1) The overall level of servant leadership of the coordinating teachers was at high levels. The item ranked at the top was commitment of personnel development, followed by that of community establishment, while that of listening was ranked at the bottom. 2) The overall level of job performance of the coordinating teachers was also at high levels. The item ranked at the top was daily activities, followed by that of social development activities, while that of learning management was ranked the lowest. 3) Servant leadership had a positive relationship with the job performance of the coordinating teachers with statistical significance at the level of 0.01.

Downloads

How to Cite

นิถานานนท์ ม., & ประจงจิตร ส. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงาน ของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก. Journal of Education Studies, 43(1), 99–111. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32657