ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษา โดยใช้กิจกรรมการบริการสังคมที่มีต่อมโนทัศน์และพฤติกรรม จิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ภาสุดา ภาคาผล วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
  • วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา ยา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Keywords:

การเรียนรู้แบบโครงงาน, การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม, มโนทัศน์จิตสาธารณะ, พฤติกรรม จิตสาธารณะ, PROJECT-BASED LEARNING, SERVICE LEARNING, PUBLIC CONSCIOUSNESS CONCEPTS, PUBLIC CONSCIOUSNESS BEHAVIORS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์และพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการบริการสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนม่วงไข่พิทยาคม จำนวน 65 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการบริการสังคม ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดมโนทัศน์ จิตสาธารณะ แบบประเมินพฤติกรรมจิตสาธารณะด้วยตนเองของนักเรียน แบบประเมินพฤติกรรมจิต สาธารณะของนักเรียนโดยครูและผู้ปกครอง และแบบสะท้อนความคิดของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดย ใช้กิจกรรมการบริการสังคมมีมโนทัศน์จิตสาธารณะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่านักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการบริการสังคมมีพฤติกรรมจิตสาธารณะหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียนและสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this research were to study the public consciousness concepts and behaviors of seventh grade students who learned social studies through project-based learning using service learning activities. The sample was comprised of 65 seventh-grade students from Muangkhaipittayakom School. The instruments were lesson plans for the 12- week duration of the experiment, a public consciousness concepts test, a students’ public consciousness behaviors self-evaluation form, a students’ public consciousness behaviors evaluation form assessed by teachers and parents, and students’ reflections. The data were analyzed by arithmetic mean (X) and standard deviation (SD) and the data was analyzed using t-test.

The results of this research were as follows: 1) The students, after learning social studies through project-based learning using service learning activities, had higher public consciousness concepts scores than pre-experiment and had higher public consciousness concepts scores than the students who learned through conventional method activities at a .05 level of significance. 2) The students who learned through project-based learning had higher public consciousness behaviors scores than the pre-experiment and had higher public consciousness behaviors scores than the students who learned through conventional method activities at a .05 level of significance.

Downloads

How to Cite

ภาคาผล ภ., & อิศรางกูร ณ อยุธยา ว. (2015). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษา โดยใช้กิจกรรมการบริการสังคมที่มีต่อมโนทัศน์และพฤติกรรม จิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Education Studies, 43(1), 80–98. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32656