การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแพะดอนตัน ตำบลชมพู จังหวัดลำปาง

Authors

  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 52100

Keywords:

สื่อการเรียนรู้, การมีส่วนร่วมชุมชน, สุขภาวะสุขภาพดี, EDUCATION MEDIA, COMMUNITY PARTICIPATORY, HEALTHY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค  1) เพื่อคน้ หาความร้จู ำ เปน็ ตอ่ การสรา้ งความตระหนักสุขภาวะชุมชน สุขภาพดี 2) เพื่อพัฒนาสื่อการเรยี นร้สู ำหรับสร้างความตระหนักสุขภาวะชมุ ชนสขุ ภาพดี 3) เพื่อศึกษาผล การใช้สื่อต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนหลัง จากได้ใช้สื่อเพื่อสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างงานวิจัย 121 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบผสม (Mixed sampling method) ใช้วิธีเลือกแบบสมัครใจ 45 คน วิธีเลือกแบบเจาะจง 26 คน วิธีเลือกแบบตามความสะดวก 50 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม สื่อวีดิทัศน์เพื่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะ ชุมชนสุขภาพดี แบบสอบถามประเมินผลก่อน-หลังกระบวนการเรียนรู้จากสื่อ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD), การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้จำเป็นต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี คือ ความรู้ การบริโภคอาหาร ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วยอันตรายจากการรับประทาน อาหารประเภทต่างๆ 2) การพัฒนาสื่อโดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับสร้างความตระหนักสุขภาวะ ชุมชนสุขภาพดี ทำให้ได้วีดีทัศน์ รูปแบบสารคดีสั้น ชุด “ของกินบ้านเฮา” 3) ผลความตระหนักสุขภาวะ สุขภาพดีของชุมชน ค่าเฉลี่ยการประเมินก่อนและหลัง คือ 3.28/4.60 พบว่า หลังการเรียนรู้ผ่านสื่อ มีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของชุมชนต่อสื่อสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี อยู่ในระดับมาก (X = 4.39, SD = 0.50) โดย ความพึงพอใจสูงสุด คือ สื่อความหมายและสร้างความรู้สึกร่วมได้

 

The purposes of this education technology research were to study the media development for establishing awareness of the health community that is suited for the Pae-don-ton community by using community participation. The sample groups included 121 community members. The research tools used in this study were comprised of interview questions, group discussion, video media for awareness and leading to healthy, pretestposttest, and a satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were mean (X), standard deviation (SD) and t-test value (t-test).

The results of this study were as follows: 1) Knowledge needed to establish awareness of the health community is knowledge available to consumers including the dangers of eating various types of foods; 2) media development by using participatory learning process is effective for awareness and leading to a healthy community in the media. The output is a set of documentaries titled "Khong-kin-ban-hao"; 3) The awareness of people was evaluated before and after the intervention which found at the means of awareness 3.28 and 4.60. The finding of this research is that people’s awareness of health issues after watching the media has statistically and significantly increased at the level of .05. 4) The analysis of satisfaction in the community with the media at a high level (X = 4.39, SD = 0.50). In terms of the content, the most satisfaction came from the feeling of being meaningful and increasing participation.

Downloads

How to Cite

บัวกนก ฟ. ฌ. (2015). การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแพะดอนตัน ตำบลชมพู จังหวัดลำปาง. Journal of Education Studies, 43(1), 63–79. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32655