ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดพัฒนาด้านจิตพิสัย ที่มีต่อเจตคติด้านสุขภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ปาริฉัตร ทองเนื้อแข็ง นิสิตปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • จินตนา สรายุทธพิทักษ์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

Keywords:

การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา, แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย, เจตคติด้านสุขภาพผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน, HEALTH EDUCATION LEARNING MANAGEMENT, AFFECTIVE DOMAIN, HEALTH ATTITUDE LEARNING ACHIEVEMENT

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดพัฒนา ด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิชากร จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือนักเรียน กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 35 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 8 แผนมีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 0.78 แบบวัดเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้และ การปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.82, 0.86, 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.92, 0.87, 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที” ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้าน ความรู้และการปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนด้านความรู้และการปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this study were to study the effects of health education learning management based on an affective domain to enhance the health attitude and learning achievements of fifth grade students. The sample comprised 70 fifth grade students from Wichakorn School. The subjects were divided into 2 groups: 35 students in the experimental group (35 students) were assigned to study under the health education learning management based on the affective domain and 35 students were assigned to the control group to study with the conventional teaching methods. The research instruments were composed of eight learning management plans based on the affective domain with an IOC of 0.78 and the health attitudes and learning achievements on the knowledge and practices about health promotion had IOC as follows: 0.82, 0.86, 0.95 with the reliability at 0.92, 0.87, 0.90. The data were analyzed by means, standard deviations, and t–test by using statistically significant differences at the .05 level.

The research findings were as follows: 1) The mean scores of the health altitudes and learning achievements on the knowledge and practice after implementation of the experimental group were significantly higher than before at .05 levels. 2) The mean scores of the health attitudes and learning achievement on the knowledge and practices after implementation of the experimental group were significantly higher than the control group at .05 levels.

Downloads

How to Cite

ทองเนื้อแข็ง ป., & สรายุทธพิทักษ์ จ. (2015). ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดพัฒนาด้านจิตพิสัย ที่มีต่อเจตคติด้านสุขภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education Studies, 43(1), 48–62. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32654