ความเสี่ยงในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่อความจงรักภักดี ของนักศึกษา: บริบทการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

Authors

  • ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10200
  • อรพรรณ คงมาลัย อาจารประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10200

Keywords:

การจัดการความเสี่ยง, การตลาดส่วนประสม, สถาบันอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, ความจงรักภักดี, RISK MANAGEMENT, MIX MARKETING, 7C’S HIGHER EDUCATION, RAJABHAT UNIVERSITY, LOYALTY

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความเสี่ยงทางการตลาดในมุมมองของนักศึกษา ที่ส่งผลต่อความภักดีของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และสนอแนะแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทของ มหาวิทยาลัยราชภัฏโดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการทบทวนทฤษฎี บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยการจัดการความเสี่ยง, การตลาด, การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และงานวิจัย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการระบุปัจจัย ความเสี่ยงในสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ประกอบด้วยปัจจัยความเสี่ยง ด้านการตลาดในมุมมองของนักศึกษาที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3 และ 4 ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นนำ จำนวน 10 แห่ง ซึ่งได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ทั้งสิ้นรวม 571 ชุด และ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ครั้งนี้และได้นำเสนอปัจจัยความเสี่ยงด้านการดำเนินงานของการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้ง 7 ปัจจัย ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติได้มีการจัดกลุ่มและรวมกลุ่มของปัจจัยทำให้เกิดเป็น 7C’s Higher Education ซึ่งเป็นปัจจัยด้านการดำเนินงานของภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา และนำมาสู่การวิเคราะห์ ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเสี่ยงของ การศึกษาระดับอุดมศึกษา (7C’s Higher Education) และความภักดีของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันมีอิทธิพล เชิงบวกต่อกันตามค่านำหนักสัมพันธ์เท่ากับ 0.43 โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.000 ซึ่งสามารถอธิบายถึง ผลกระทบในการดำเนินงานที่มีต่อความจงรักภักดีที่เกิดขึ้นได้ ร้อยละ 18 (R2 = .18) ดังนั้นเพื่อสร้าง ความได้เปรียบทางการแข่งขันองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อไป

 

This research aimed to study marketing risk factors affecting the loyalty of students at Rajabhat University and to propose guideline for risk management to foster achievement in developing operational strategies of the university. The methodological framework consists of reviewing theories and research. The research findings illustrate a for the 7C’s marketing risk factors which attect loyalty from the students’ prspectives. The data was collected through questionnaire from the sample of junior and senior students of science and technology faculties in top ten Rajabhat University. A total of 571 questionnaires were completed. Exploratory Factor Analysis (EFA) was used to analyze the data and also to identify 7 risk factors for higher educational students at Rajabhat University. This EFA statistical analysis indicated the 7C’s higher education, led to Structural Education Model analysis. The results found that the relationship between the 7C’s higher education and the students is loyalty to the university. This was positively influenced by a standardized coefficient (B) of 0.43 and p-value of 0.000, which is my explain risk factors. There are 7 factors for higher education that impact the students’ loyalfy amounting to 18 percent (R2 = .18). The final, statistical results were utilized for risk response and solutions to problems in the future for opertions in higher ecucation.

Downloads

How to Cite

กานต์รวีกุลธนา ณ., & คงมาลัย อ. (2015). ความเสี่ยงในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่อความจงรักภักดี ของนักศึกษา: บริบทการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. Journal of Education Studies, 43(1), 19–36. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/32652