การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคกลาง Development Network Administration Model of Rajabhat University Central Area Group
Keywords:
การบริหารเครือข่าย, องค์ประกอบ, NETWORK ADMINISTRATION, ELEMENTSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม ภาคกลางการดำเนินการวิจัยมี ๒ ขั้นตอนคือ ๑) การวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับแนวทางการบริหารเครือข่าย ของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศ ๒) การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางโดยใช้เครื่องมือในรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อ การบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางที่มีองค์ประกอบในการบริหาร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .๙๔ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุ่มภาคกลางกับกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางตอนบน จำนวน ๓๗๖ คนจำแนกเป็น บุคลากรสายบริหาร ๑๕๒ คน บุคลากรสายสอน ๒๒๔ คน และเก็บแบบสอบถาม กลับมาเป็นบุคลากรสายบริหาร ๑๒๙ คน บุคลากรสายสอน ๑๙๐ คน รวมทั้งหมด ๓๑๙ คน คิดเป็น ร้อยละ ๘๕ การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นใช้เทคนิคการ สนทนากลุ่มเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ภาคกลางที่มี ๗ องค์ ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานการบริหารงานแบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง คือ ๑) กำหนดวัตถุประสงค์ที่วัดได้ ๒) มีความผูกพันภายในกลุ่มลักษณะเป็นพันธมิตรร่วมกัน ๓) กำหนด ภารกิจและเป้าหมายที่ใช้ร่วมกัน ๔) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกัน ๕) กำหนดการสื่อสาร และรายงานการทำงานของกลุ่มต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ๖) ความไว้วางใจและความเคารพการตัดสินใจ ของพันธมิตร ๗) ต้องแบ่งปันทรัพยากรและช่วยเหลือกันในกลุ่มผลการประเมินรูปแบบการบริหารงาน เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง มีความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ ความเหมาะสม และ ความถูกต้องของรูปแบบในระดับมาก
The objective of this research is to develop a network administration model for the Central region Rajabhat university group. The research was conducted in two phases: 1) Analysis of documents on approaches to the administration of higher education institute networks in Thailand and overseas; 2) Development of a network administration model for the Central region Rajabhat university group based on the collected questionnaire data on attitudes toward network administration of the Central region Rajabhat university group with a conf idence level of .94 for their administrative elements. The principal method of data collection was the questionnaire asking for opinions on network administration of the Central region Rajabhat university group collected from selected sample groups. A total of 376 questionnaires were sent to 152 people in administrative positions and 224 people in teaching positions. The questionnaire return rate was 129 and 190 respectively. Overall, 319 questionnaires or 85% of the distributed questionnaires were returned. The questionnaire data were subsequently analyzed to determine the means and standard deviation values of the opinions given in the questionnaires. Focus group techniques were also employed and data from both methods were synthesized to develop an administrative model for the Central region Rajabhat university group. The proposed model comprises seven major administrative elements: 1) Measurable objectives; 2) Partnership commitments; 3) Shared missions and goals; 4) Joint working committees; 5) Communication channels and operational outcome reporting based on the principle of good governance; 6) Trust and respect of partner’s decisions; 7) Resource sharing and mutual assistance. Subsequent evaluation of the proposed model for network administration of the Central region Rajabhat university group found it to be highly feasible, useful, appropriate and accurate.