การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ A Development of Academic Administration Model at Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi
Keywords:
รูปแบบการบริหารงานวิชาการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, MODEL OF ACADEMIC ADMINISTRATION, RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECNOLOGY SUVARNABHUMIAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ การวิจัยดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยมี ๒ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการบริหาร งานวิชาการ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบสอบถาม ประเภทตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็น แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ การเก็บข้อมูลการวิจัยมีลักษณะเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากข้อมูลการ สำรวจความคิดเห็น การวิเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่ม พร้อมกับเอกสารประกอบรูปแบบ และ แบบประเมินรูปแบบที่ใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ
ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาสภาพและปัญหาที่พบจากการบริหารงานวิชาการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านส่งเสริมและควบคุมงานวิชาการ ด้านการบริการ วิชาการ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศและพัฒนาบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๘ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการทั้ง ๖ ด้านไม่แตกต่างกันกัน ส่วนการพัฒนา รูปแบบการบริหารงานวิชาการนั้นจะนำผลการศึกษาสภาพและปัญหา ตลอดจนการวิเคราะห์กระบวนการ พัฒนาการบริหารงานวิชาการ โดยใช้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานคุณภาพมาเป็นกรอบ ในการร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็นรูปแบบในเชิงความคิด (conceptual model) มีส่วน ประกอบดังนี้ (๑) การบริหารงานวิชาการใน ๖ ด้าน (๒) กำกับการบริหารเชิงนโยบายในแต่ละด้านโดย ใช้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ ๖ ขั้น และ (๓) การกำหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการโดยใช้การ บริหารงานคุณภาพกับองค์ประกอบย่อยที่เป็นผลจากการวิจัย และผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิมีความเห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๖
The research study was to investigate academic administration problems and develop an academic administration model at Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. This research and development was accomplished in two phases. The problems of the academic administration was investigated in phase 1. The model of academic administration was developed in phase 2. The needs survey, document analysis and focus group discussion were collected including supplementary documents and the model assessment form with a 5-point rating scales.
The research instruments used were the academic administration questionnaire, which was a component of the personal information and the academic administration problems. Data collection was used both quantitatively and qualitatively. The result revealed that the six problem areas of academic administration were found namely in curriculum, learning and teaching, promotion and control of academics, academic services, measurement and evaluation, supervision and personnel development, were high (X =3.58), and the lecturers’ opinions on the six problem areas of academic administration did not differ in relation to gender, level of education, or work experience. The result of study and analysis of the process of academic administration were developed with the model of strategy and quality management towards the conceptual model, which consisted of (1) the six areas of academic administration (2) the six steps of policy control in strategy administration and (3) designing the academic administration process by quality management. Lastly, the assessment of the academic administration of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi model was the most agreed on which can be implemented (X =4.76).