บทบาทของครูสังคมศึกษาในการสร้างสำนึกพลเมืองโลก
คำสำคัญ:
บทบาทของครูผู้สอน, การสอนสังคมศึกษา, พลเมืองโลกบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอบทบาทของครูสังคมศึกษาในการสร้างสำนึกพลเมืองโลกให้กับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ครูสังคมควรส่งเสริมการสร้างมุมมองพลเมืองโลกและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยเน้นการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเชิงวิพากษ์ ตลอดจนการสร้างความตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในสังคมอย่างสร้างสรรค์ และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ครูสังคมศึกษาต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งสริมการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับนักเรียนซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ด้านกลยุทธ์การศึกษา ด้านความคิดเชิงโลก และด้านองค์ประกอบการสร้างความเป็นพลเมืองโลก องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ครูสังคมศึกษา นำมาใช้ในการออกแบบเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา ครอบคลุมสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม สื่อการสอน และการวัดประเมินผลของครูผู้สอน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี รวมทั้งทักษะชีวิตและอาชีพ บทความวิชาการนี้นำเสนอการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจบทบาทของตนในฐานะพลเมืองโลก พร้อมทั้งวิเคราะห์ความท้าทายและแนวทางการพัฒนาครูสังคมศึกษาในการเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมเผชิญกับความท้าทายระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ
References
ภาษาไทย
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2544). การพัฒนามาตรสำนึกสากลตามบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554) ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). Civic education พลังเยาวชน พลังพลเมือง: การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2548). การพัฒนาจิตสำนึกความเป็นพลโลก สำหรับเยาวชนตามแนวพุทธธรรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55519
ภาษาอังกฤษ
Baldado, R. L., & Daniel, M. B. (2023). Exploring effective teaching strategies employed by social studies teachers: A comprehensive study. International Journal of Multidisciplinary Research and Analysis, 06(11), 5204-5209. https://doi.org/10.47191/ijmra/v6-i11-28
Banks, J. A. (2008). Diversity, group identity, and citizenship education in a global age. Journal of Education, 37(3), 129–139. https://doi.org/10.3102/0013189X08317501
Cogan, J., & Derricott, R. (1998). Citizenship education for the 21st Century: Setting the context. In J. Cogan & R. Derricott (Eds.), Citizenship for the 21st Century: An international perspective on education (pp. 1-22). Routledge.
Davies, I. (2020). Civic and citizenship education in volatile times. Preparing students for citizenship in the 21st Century. British Journal of Educational Studies, 68(1), 125-127. https://doi.org/10.1080/00071005.2019.1676009
Dove, K. G. (2021). Classroom equity and the role of a teacher leader: Making classrooms equitable to all students. In B. Zugelder (Ed.), Empowering formal and informal leadership while maintaining teacher identity (pp. 109-134). IGI Global.
Fullan, M. (2020). Leading in a culture of change (2nd ed.). Jossey-Bass.
Hargreaves, A., & Fullan, M. (2012). Professional capital: Transforming teaching in every school. Teachers College.
Henderson, D. (2017). Current practice and future challenges in teaching civics and citizenship. In A. Peterson & L. Tudball (Eds.), Civics and citizenship education in Australia: Challenges, practices and international perspectives. (pp. 41-58). Bloomsbury Academic.
Irayanti, I., & Turyatni, Y. (2021). Civic and citizenship education in volatile times: Preparing students for citizenship in the 21st Century: written by Kerry J. Kennedy. Social Work Education the International Journal, 41(3), 389–390. https://doi.org/10.1080/02615479.2021.1952733
Kennedy, K. J. (2019). Civic and citizenship education in volatile times - preparing students for citizenship in the 21st century. Springer. https://link.springer.com/book/10.1007/978-981-13-6386-3
Kniep, W. M. (1986). Social studies within a global educations. Social Education, 50(6), 536-542.
Monreal, T., & McCorkle, W. (2020). Social studies teachers’ attitudes and beliefs about immigration and the formal curriculum in the United States south: A multi-methods study. The Urban Review, 53, 1-42. https://doi.org/10.1007/s11256-020-00561-3
Myers, J. P. (2006). Rethinking the social studies curriculum in the context of globalization: education for global citizenship in the U.S. Theory & Research in Social Education, 34(3), 370-394. https://doi.org/10.1080/00933104.2006.10473313
Myers, J. P. (2023). Social studies teachers’ perceptions of the credibility and meaning of data visualisations for teaching. Journal of Visual Literacy, 42(2), 146-163. https://doi.org/10.1080/1051144X.2023.2217572
Tudball, L., & Henderson, D. (2013). Experiential teaching and learning for Asia literacy through civics and citizenship education. Curriculum Perspectives, 33(3), 83-85. https://eprints.qut.edu.au/219704/1/Experiential_teaching_and_learning_for_Asia_literacyAuthorVersion.pdf
UNESCO. (2014). Global citizenship education: Preparing learners for the challenges of the twenty-first century. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000227729.locale=en
UNESCO. (2023). UNESCO and sustainable development goals. https://www.unesco.org/en/sdgs
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.