การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม The Development of Educational Management Quality Indicators in Doctoral Degree Programmes in Arts and Culture
Keywords:
ตัวบ่งชี้, คุณภาพการจัดการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม, INDICATOR, EDUCATIONAL MANAGEMENT QUALITY, ARTS AND CULTUREAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม ใน ๓ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งมีกระบวนการวิจัย ๒ ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้หลักของคุณภาพการจัดการศึกษา และขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนาตัวบ่งชี้ย่อยของคุณภาพการ จัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ๕ ท่าน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๕ จาก จำนวน ๘๒ คน ร้อยละ ๘๒.๐๐ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบ สัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่า คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีกับเกณฑ์ที่กำหนด และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่าง ที่อิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า ๑. องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม มี ๓ องค์ประกอบ ๙ ตัวบ่งชี้หลัก และ ๑๗๑ ตัวบ่งชี้ย่อย องค์ประกอบหลักทั้งสามมีดังนี้ องค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้า มี ๕ ตัวบ่งชี้หลัก ๑๑๔ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของอาจารย์ ๒๓ ตัว คุณภาพของ นิสิตนักศึกษา ๑๘ ตัว คุณภาพของผู้บริหารหลักสูตร ๑๒ ตัว คุณภาพของหลักสูตร ๑๙ ตัว และคุณภาพ ของทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ๔๒ ตัว องค์ประกอบด้านกระบวนการ มี ๒ ตัวบ่งชี้หลัก ๓๒ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๑๗ ตัว และคุณภาพของการบริหารจัดการ ๑๕ ตัว ส่วนองค์ประกอบด้านผลผลิต มี ๒ ตัวบ่งชี้หลัก ๒๕ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของดุษฎีบัณฑิต ๑๘ ตัว และคุณภาพของปริญญานิพนธ์ ๗ ตัว ซึ่งตัวบ่งชี้ย่อย จำนวน ๑๗๐ ตัว จาก ๑๗๑ ตัว คิดเป็น ร้อยละ ๙๙.๔๑ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๑ ยกเว้น ๑ ตัวคือ การมีระบบการให้บริการ ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ ซึ่งอยู่ในตัวบ่งชี้คุณภาพของทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นตัวบ่งชี้ที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๒. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มีวิธีจัดการหลักสูตรต่างกัน มีความเห็นต่อตัวบ่งชี้คุณภาพ การจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม ทั้ง ๙ ตัวบ่งชี้หลัก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ
The purposes of this research were to develop and examine three components of educational management quality indicators consisting of input, process, and output components in doctoral degree programme in Arts and Culture. There were two steps in the development of the indicators: (1) determining components and principal educational management quality indicators, and (2) developing sub indicators. The sample consisted of 5 external experts, the curriculum’s administrative committees and university students who were enrolled in the doctoral degree programmes in Arts and Culture at Srinakharinwirot University, KhonKaen University, and Mahasarakham University during the academic year of 2012.of the total was 82 people (equivalent of 82%). The research instruments included interview forms and questionnaires. The statistical analysis included frequency distribution, percentages, means, standard deviations, a one sample t-test comparing the criterion and an independent t-test.
The research f indings were as follows: 1. The educational management quality indicators in doctoral degree programmes in Arts and Culture consisted of 3 components, 9 principal indicators, and 171 sub indicators as follows : The input component consisted of 5 principal indicators and 114 sub indicators, covering 23 lecturer qualities , 18 university student qualities , 12 curriculum committee qualities, 19 curriculum qualities, and 42 supportive learning resource qualities . The process component consisted of 2 principal indicators and 32 sub indicators, covering 17 processes of learning management quality, and 15 administrative management qualities. The output component consisted of 2 principal indicators and 25 sub indicators, covering 18 doctoral graduate characteristics, and 7 theses qualities. 170 out of the 171 sub indicators (equivalent of 99.41%) were more appropriate and higher than the criteria. The service system and suggestion related equipment usage as part of supportive learning resources quality indicator was appropriate but not higher than the criteria. 2. The curriculum’s committees who have different ways of curriculum management were not signif icantly different in comparing means of opinions of the 9 principal educational management quality indicators in the degree programme.