กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืน Academic Administration Strategies of Basic Education Institutions to Promote Sustainable Development

Authors

  • ยุพา เวียงกมล อัดโดดดร โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง ถนนบำรุงนคเรช ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร วิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน และ ๒) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหาร วิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่ม ตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓๙๖ โรงเรียน ผู้ให้ ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนละ ๑ คน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ โรงเรียนละ ๑ คน ยกเว้นโรงเรียนขนาดเล็ก และครูตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนโรงเรียน ละ ๒ คน รวมทั้งสิ้น ๑,๒๘๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง และแบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติ บรรยายได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า “ที” ที่ระดับนัย สำคัญ .๐๑ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการใช้เทคนิคในการจัดลำดับความ สำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า ๑) การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยของสภาพสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้านและทุกประเด็น ๒) กลยุทธ์ การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนควรประกอบด้วย ๔ กลยุทธ์ หลัก คือ ๑) กลยุทธ์พลิกโฉมการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๒) กลยุทธ์วัดผลประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓) กลยุทธ์ปรับการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ ๔) กลยุทธ์เปลี่ยนกระบวนทัศน์หลักสูตร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

The objectives of this research were 1) to study the current and desirable state of academic administration strategies of basic education institutions to promote sustainable development; and 2) to study the strategies of academic administration of basic education institutions to promote sustainable development. This research used the descriptive research method. The population consisted of 1,286 people from the school of basic education institutions. Respondents included the administrators, the associate school administrators for academic affairs and heads of learning. The research instruments consisted of questionnaires, structured interviews, and investigation forms on strategy appropriateness. Quantitative data were analyzed by means of descriptive statistics to acquire frequency, percentage, mean and standard deviation. A t-test was employed to determine the signif icant differences at the .01level. Qualitative data were analyzed by contents analysis and a modif ied Priority Needs Index (PNImodif ied) technique to prioritize the needs.

The f indings were as follows: 1) The academic administration strategies of basic education institutions to promote sustainable development showed that the average of the current and desirable state were higher than as a whole and each issue separately. 2) The academic administration strategies of basic education institutions to promote sustainable development consisted of 4 strategies : (1) shifting the paradigm of strategic research for sustainable development (2) measurement and evaluation strategies for sustainable development (3) improvement of instruction strategies for sustainable development and (4) shifting the paradigm of curriculum strategies for sustainable development.

Downloads

How to Cite

อัดโดดดร ย. เ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. (2014). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืน Academic Administration Strategies of Basic Education Institutions to Promote Sustainable Development. Journal of Education Studies, 41(3), 38–47. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26924