การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน Development of Elementary School Management Strategies to Enhance Community Involvement in Student Support Systems 1

Authors

  • ฤทัยวรรณ หาญกล้า ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนไข่เต่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ปิยพงษ์ สุเมตติกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และพัฒนากลยุทธ์การ บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลศึกษาวิเคราะห์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และตัวแทนชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นจาก แบบสอบถาม โดยสอบถามจากผู้บริหาร ครู และตัวแทนชุมชน จำนวนกลุ่มละ ๓๖๐ คน และสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ครู และตัวแทนชุมชน ใน ๔ ภูมิภาค จำนวนภูมิภาคละ ๓ คน จัดทำกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค SWOT นำผลการวิเคราะห์มาจัดทำร่างกลยุทธ์และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการประชุมสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวมสภาพการดำเนินการในปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในภาพรวมสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถม ศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย ๕ กลยุทธ์หลัก ๑๓ กลยุทธ์รอง และ ๖๘ วิธีการ ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ ๑ ริเริ่มสร้างสรรค์สัมพันธ์ชุมชน ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์รอง คือ ๑) มุ่งสร้างความตระหนักและพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ ๒) ส่งเสริม ความสัมพันธ์ร่วมกันในชุมชน กลยุทธ์หลัก ที่ ๒ เพิ่มพลังศักยภาพการวางแผน ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์ รอง คือ ๑) มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการร่วมมือในการวางแผน ๒) ส่งเสริมการวางแผนการทำงานอย่าง เป็นระบบ ๓) มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานในรูปแบบการเป็นคณะกรรมการร่วมกันในทุกฝ่าย กลยุทธ์หลักที่ ๓ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์รอง คือ ๑) มุ่งสร้างความตระหนักและความเข้มแข็งในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาและส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของชุมชน ๒) พัฒนาความสัมพันธ์ด้วยเครือข่ายผู้ปกครองเข้มแข็ง ๓) เสริมพลังสร้างเครือข่ายการ มีส่วนร่วมจากองค์กรภายนอก กลยุทธ์หลักที่ ๔ มุ่งสร้างคุณภาพการประเมินผลสู่ความเข้มแข็ง ประกอบ ด้วย ๓ กลยุทธ์รอง คือ ๑) สนับสนุนการประเมินผลการวิจัยอย่างมีคุณภาพ ๒) มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ๓) ส่งเสริมให้สถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วม ในการประเมินผลอย่างหลากหลาย และกลยุทธ์หลักที่ ๕ มุ่งสู่ความสำเร็จและรับผลประโยชน์ ร่วมกัน ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์รอง คือ ๑) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการมีส่วนร่วมรับรู้ และกระจายผลประโยชน์ ๒) ส่งเสริมการแสดงผลงานสู่สาธารณชน

 

The purposes of this research were as follow: to study the situation and the needs, and to develop administration to enhance community involvement in student support. Data collection was from the questionnaires, and the interviews. The samples were school administrators, teachers and community. The needs assessment was conducted by questionnaires and the interviews of school administrators, teachers and selected communities from four regional areas. Thereafter SWOT analysis lead to drafting strategies and f inally a focus group discussion.

The f indings reveal the current situation is moderate but the needs are considerable. The development of administrative strategies for elementary schools to enhance community involvement in the student support system features f ive principle strategies, thirteen sub-strategies and sixty-eight procedures. The f irst principle strategy is to start relationships with the community; the second principle strategy is to increase potential planning; the third principle strategy is to increase the best operations; the fourth principle strategy is to create quality evaluation to be vigorous; and the f ifth principle strategy is to be absorbed in the success and the benef its.

Downloads

How to Cite

หาญกล้า ฤ., & สุเมตติกุล ป. (2014). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน Development of Elementary School Management Strategies to Enhance Community Involvement in Student Support Systems 1. Journal of Education Studies, 41(3), 1–18. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26921