การศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษา เปรียบเทียบระหว่างสถานประกอบการ อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ แสงทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  • ณัฐพงศ์ ทองเทพ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.16

คำสำคัญ:

สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน, สถานประกอบการ, อาจารย์นิเทศ, นักศึกษาสหกิจศึกษา, สมรรถนะ

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีนโยบายขับเคลื่อนการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน และตระหนักถึงความสำคัญในการส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินการนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา โดยสถานประกอบการ อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาสหกิจศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบมุมมองระหว่างสถานประกอบการ อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาสหกิจศึกษา ที่มีต่อสมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษา จากรวบรวมผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา ในปีการศึกษา 2565 โดยใช้แบบประเมินการนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พี่เลี้ยงในสถานประกอบการ 104 คน อาจารย์นิเทศ 64 คน และนักศึกษา 164 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และประมวลผลตามหลักสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษาในภาพรวม มุมมองอาจารย์นิเทศสูงกว่าสถานประกอบการและนักศึกษา โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาตนเองด้าน soft skills ด้าน hard skills และความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติตามระเบียบวินัยขององค์กร ยกเว้นความก้าวหน้าของการจัดทำรายงาน ที่อาจารย์นิเทศยังมองว่านักศึกษาควรเสริมทักษะการจัดทำรายงานให้มีความก้าวหน้าและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า สถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศ มีความคิดเห็นตรงกันว่า นักศึกษามีการพัฒนาตนเองด้าน hard skills สูงกว่าด้าน soft skills หลักสูตรจึงควรเสริมทักษะให้กับนักศึกษาทางด้าน soft skills เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของสถานประกอบการ และนำไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพและสมรรถนะสูง

References

ภาษาไทย

กมลวรรณ แสงทอง และ ณัฐพงศ์ ทองเทพ. (2566). ศักยภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษาในมุมมองของสถานประกอบการต่อการพัฒนางานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. Journal of Information and Learning, 34(3), 46-61. https://doi.org/10.14456/jil.2023.33

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565, 18 มกราคม). โครงการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://www.mhesi.go.th/index.php/flagship-project/6820-CWIE.html

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565, 13 ธันวาคม). กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 - 2570. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (mhesi).

https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/book-ministry/8310-2022-12-13-06-27-40.html

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน พ.ศ.2565. คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา.

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2561, 28 พฤศจิกายน). องค์ความรู้ภาษา-วัฒนธรรม. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2018/12/11282561-สมรรถนะ.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. เทพเนรมิตรการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. (2565). คณะและสาขาที่เปิดสอน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (psu). https://www.psu.ac.th/phuket/admissions/undergraduate/

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. (2566). EdPEx. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. https://info261518.wixsite.com/edpex/copy-of-forwritter

วรรณะ วิจิตร และคณะ. (2562, กรกฎาคม). ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ [Paper presentation], การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ, สงขลา, ประเทศไทย.

วันพิชิต ชินตระกูลชัย. (2564, 20 กันยายน). ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอ่อนไหว คืออะไร มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง?. openpdpa. https://openpdpa.org/personal-data-type/

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2565). โมดุล 1 หลักการ แนวคิด นโยบาย และกฎหมาย สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา. สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561, 30 มกราคม). การพัฒนาสมรรถนะหลัก (สำหรับข้าราชการใหม่). สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/aptitude_development.pdf

ภาษาอังกฤษ

Khampirat, B. (2016). Developing Global Standards Framework and Quality Integrated Models for Cooperative and Work-Integrated Education Programs. Asia-Pacific Journal of Cooperative Education, 17(4), 349-362. https://eric.ed.gov/?id=EJ1131541

Karsten, E. Z. (2018). Cooperative education in the Asian region. (1st ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315402024

Marin-Zapata et al., (2022). Soft skills, do we know what we are talking about?. Rev Manag Sci 16. https://doi.org/10.1007/s11846-021-00474-9

Schneider, K. (2019). What Does Competence Mean?. (14th ed.). Psychology.

https://doi.org/10.4236/psych.2019.1014125

United Nations. (2010). Un competency development – A practical guide. O¬ffice of Human Resource Management Department of Management United Nations. https://hr.un.org/sites/hr.un.org/files/Un_competency_development_guide.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

แสงทอง ก., & ทองเทพ ณ. (2024). การศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษา เปรียบเทียบระหว่างสถานประกอบการ อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), EDUCU5201016. https://doi.org/10.14456/educu.2024.16