การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน Development of A Human Resource Management Model for Private Schools

Authors

  • สิรินพร วิทิตสุภาลัย

Keywords:

รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์, รูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวด, รูปแบบเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่น, HRM MODEL, RATIONAL MODEL OF HARD HRM, EFFICACY MODEL OF SOFT HRM

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน (๒) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดี (๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน ประชากรคือ โรงเรียนเอกชนในระบบทั่วประเทศจำนวน ๓,๐๔๙ โรง กลุ่มตัวอย่างจำนนวน ๓๔๖ โรง โดยวิธีสุ่มแบบเป็นกลุ่ม จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น ๑,๗๓๐ คน (๑ โรง ต่อผู้ให้ข้อมูล ๕ คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยกร่างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๒๔ ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัจจุบันโรงเรียนเอกชน ใช้รูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวดอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรูปแบบเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่น ปัจจุบันมีการใช้อยู่ระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติระดับปานกลาง ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงเป็นลำดับแรก และสภาพพึงประสงค์อยู่ระดับมากที่สุดทุกด้าน ๒. โรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดี ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันใช้ทั้งรูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวดและรูปแบบเชิงเหตุผลแบบยืดหยุ่นอยู่ในระดับมากตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง ๒ รูปแบบ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติระดับมาก ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงเป็นลำดับแรก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน ๓. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนคือ “รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการเพื่อความสำเร็จของโรงเรียนเอกชน” ลักษณะสำคัญของรูปแบบคือ ๑. บูรณาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยยึดเป้าหมายของโรงเรียนและบุคลากรเพื่อความสำเร็จร่วมกัน ๒. วางแนวปฏิบัติที่มีความต้องการจำเป็นในประเด็นต่างๆ ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

 

This study was conducted by the mixed method research, quantitative and qualitative method. The objectives of the study are 1. to investigate human resource management model of private schools in the current situations and the expected situations. 2. to investigate human resource management model of out standing private schools. 3.to develop a human resource management model for private schools. The population of this study is 3,049 formal private schools enrolling in Office of the Private Education Commission. The 346 samples were collected by cluster random sampling in order to provide the quantitative data by the 5 levels rating scale questionnaire. Informants are 1,730 (1 school=5 persons) The quantitative data were analyzed into means, standard deviation, and PNIModified index in order to rank the needs identifications. Furthermore, the model was created by analysis and synthesis the quantitative data and gradually modifying the model based on the evaluation form and comments of 20 experts.

 The findings found that 1.existing situation, private schools used the rational model of hard HRM at average level, highest level in expected situations. The efficacy model of soft HRM was used at high level in rogue and also highest in expected situations. When considerated each item, the performance management was at average in prevalent, PNIModified was the first and highest level in the expected situations 2. The out standind schools used both of models at high level in common and highest in the expected situations. The performance management was at high level, however, it was lowest mean than other item. PNIModified was the first and highest level in the expected situations too 3. A develop model for private schools HRM is “The integrated model of human resource management for private school successes” which was composed of 2 elements : 1. Integrating the hard and soft HRM processes for the success of school goals and personal goals. 2. Setting the priority need of HR practices in each item.

Downloads

Published

2014-12-23

How to Cite

วิทิตสุภาลัย ส. (2014). การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน Development of A Human Resource Management Model for Private Schools. Journal of Education Studies, 42(4), 111–125. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26593