รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้บทเรียน 1 ประเด็น Model for developing learning of staffs in industrial production organizations using OPL Technique

Authors

  • สักรินทร์ อยู่ผ่อง

Keywords:

รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้, เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น, Learning model development, OPL Technique

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กรโดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิศวกร ช่างเทคนิค หัวหน้างาน ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 10 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีการดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาความต้องการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นที่ 4 การประเมินติดตามผลหลังการฝึกอบรม

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กรมีความต้องการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.67, S.D.= 0.38) รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็นที่พัฒนาขึ้น นำไปสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลจากการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.70, S.D.= 0.51) การนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนจากภาคปฏิบัติการทำบทเรียน 1 ประเด็น โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 93.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และการติดตามผลการจัดทำบทเรียน 1 ประเด็น ของหัวหน้างานหลังจากที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือน มีผลการประเมินในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 91.66 และการติดตามจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในสถานประกอบการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.84, S.D.= 0.78) และทุกรายการอยู่ในระดับมาก

 

This research and development study aimed at developing a model for developing learning of staffs in industrial production organizations using OPL Technique. The sample group consisted of 10 technicians, engineers, and foremen in industrial production organizations in Bangkok and perimeter to complete the questionnaires analyzed by mean, percentage, IOC, and standard deviation. The research procedure is Conducted in four steps as followings: 1. Studying need of using OPL Technique. 2. Developing a model. 3. Applying the model for training in the target group. 4. Evaluating after the training.

The results showed that the sample group reported their needs on OPL Learning Technique at the average of 4.67 or very high level. The developed OPL model was validated in the focus group with the IOC at 4.70 or very high appropriate. The trainees achieved the practical part at average of 93.99% which was higher than the criteria at 80%. Moreover, after 1 month training, the follow-up study showed the high achievement at 91.66% with very high satisfaction from HR manager at 3.84 in every aspect.

Downloads

Published

2014-12-23

How to Cite

อยู่ผ่อง ส. (2014). รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้บทเรียน 1 ประเด็น Model for developing learning of staffs in industrial production organizations using OPL Technique. Journal of Education Studies, 42(4), 96–110. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26592