การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน DEVELOPMENT OF A MANAGEMENT MODEL FOR THE EMPOWERMENT OF TEACHERS IN BASIC EDUCATION INSTITUTIONS

Authors

  • สอาดลักษณ์ จงคล้ายกลาง

Keywords:

การเสริมสร้างพลังอำนาจครู, รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจครู, EMPOWERMENT OF TEACHERS, A MANAGEMENT MODEL FOR THE EMPOWERMENT OF TEACHERS

Abstract

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และเทคนิค PNIModified ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน (3.50) และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การบริหารแบบการเมือง (3.25) สภาพที่พึงประสงค์ พบว่า การบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (4.19) และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การบริหารแบบการเมือง (3.91) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้านการบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน มีค่าสูงสุด (PNI modified =0.22) และต่ำที่สุดคือ รูปแบบ การบริหารแบบการเมือง (PNI modified =0.17) 2) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเพื่อนร่วมงานโดยใช้วัฒนธรรมและการเมืองเป็นฐาน มีองค์ประกอบที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 รายละเอียดของรูปแบบ ส่วนที่ 2 ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้

 

The objectives: 1) To study the current situation and desirable situation and 2) To development of a management model for the empowerment of teachers in basic education institutions. Mixed method research. The samples were 396 schools. Instruments included questionnaires and interview forms. The analysis used descriptive statistics and the technique called Modified Priority Needs Index (PNIModified) was applied. The Model were checked by 15 experts. The results showed: 1.The current situation of a management model for the empowerment of teachers in basic education institutions, the highest of management model is Collegial Models (3.50) and the lowest is Political Models. In desirable situation, the highest of management model is Collegial Models (4.19) and the lowest is Political Models (3.91). Index of needs (PNIModified), the highest of management model is Collegial Models (PNI Modified =0.22) and the lowest is Political Models. (PNIModified =0.17). 2. The Model for the empowerment of teachers , cultural and political based collegial model in basic education institutions. There are 2 important elements. Part 1 Details of the models. Part 2 Guidelines for how to use the models.

Downloads

Published

2014-12-23

How to Cite

จงคล้ายกลาง ส. (2014). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน DEVELOPMENT OF A MANAGEMENT MODEL FOR THE EMPOWERMENT OF TEACHERS IN BASIC EDUCATION INSTITUTIONS. Journal of Education Studies, 42(4), 81–95. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26590