การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” หรือโมเดลเลิฟ (LOVE MODEL) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สำหรับการสอนสุขศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง วิชาเพศศึกษาและวิชาสวัสดิศึกษา

Authors

  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ หัวหน้าภาควิชาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาสุขศึกษา และพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โมเดลเลิฟ, เพศศึกษา, สวัสดิศึกษา, การสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์, LOVE MODEL, SEX EDUCATION, SAFETY EDUCATION, HUMANE VALUES

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาเพศศึกษาและ สวัสดิศึกษาโดยใช้รูปแบบ “ความรัก” หรือโมเดลเลิฟ (LOVE MODEL: Learning, Openness, Value, Excellence) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตลอดจนเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๒๗๒๓๒๕๖ เพศศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๘๐ คน และ รายวิชา ๒๗๒๓๒๕๐ สวัสดิศึกษา ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๖๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๔๐ คน ใช้วิธี การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการ เรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” แบบประเมินความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ความดี ความจริง ความรู้) และ แบบประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) One Way MANOVA และ One Way MANCOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยมีดังนี้ ๑) ผลการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและสวัสดิศึกษาโดยใช้รูปแบบ “ความรัก” เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พบว่า หลังเรียน กลุ่มทดลองมีพัฒนาการดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มควบคุม ในด้านความดี ความจริง และความรู้ (ความรู้ในเนื้อหา ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา และสวัสดิศึกษา) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) การเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบ “ความรัก” ในการจัดการเรียนรู้ระหว่างวิชาเพศศึกษาและสวัสดิศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความดีในการปฏิบัติ ตนเพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความจริงของชีวิต และความรู้ หลังเรียนของทั้งสองรายวิชา ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .๐๕ และ ๓) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา และสวัสดิศึกษาโดยใช้รูปแบบ “ความรัก” เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองรายวิชา ส่วนข้อ เสนอแนะจากการวิจัยคือ ควรมีนโยบายให้จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” เพื่อสร้างความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ในรายวิชาต่างๆ ทุกรายวิชา และครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อเน้นให้ผู้เรียนเกิด “คุณธรรม นำความรู้”

This study was designed to compare the results of a learning management model on Sex Education and Safety Education using the LOVE model (Learning, Openness, Value and Excellence) to develop humane values and also to compare the satisfaction of the learners with the use of the model. The participants were 140 Chulalongkorn university students in Bangkok who enrolled in the Sex Education course at the Faculty of Education in the 2011 academic year and the Safety Education course at the Faculty of Education in the 2012 academic year. The students were selected by random sampling. The research instruments were LOVE model learning management plans; assessments of humane values in the areas of goodness, truth and knowledge, and assessments of the learning activities based on the LOVE model. Data analysis was done using means, standard deviation, t-test, one way MANOVA and one way MANCOVA including content analysis.

The results found f irst that mean scores of the Sex Education and Safety Education experimental group were signif icantly improved compared to before the experiment and higher than the control group at the .05 level of signif icance in the areas of goodness, truth, and knowledge (knowledge of attitudes and practices concerning sex education and safety education). It also found that mean scores between Sex Education and Safety Education of experimental groups were not signif icantly different at the .05 level in the areas of goodness, truth and knowledge. The third f inding showed mean scores of the experimental group, both in Sex Education and Safety Education, were not signif icantly different with respect to the level of satisfaction with the model which was high. The researcher recommends that the application of the LOVE model of learning management to improve the development of humane values in all subjects and class levels be used to promote “Morality ahead of Knowledge” in students.

Downloads

How to Cite

วัฒนบุรานนท์ เ. (2014). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” หรือโมเดลเลิฟ (LOVE MODEL) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สำหรับการสอนสุขศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง วิชาเพศศึกษาและวิชาสวัสดิศึกษา. Journal of Education Studies, 42(2), 191–206. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26182