การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ของนิสิตนักศึกษาไทย

Authors

  • สุธิดา พลชำนิ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ สตรำจำรย์ ดร. พันธ์ศักดิ์ พลสำรัมย์ ประธานสาขาวิชาอุดมศึกษาและอาจารย์ประจำสาขา วิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นา ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค, การสร้างเสริม, นิสิตนักศึกษาไทย, AN ADVERSITY QUOTENT, ENHANCEMENT, THAI UNIVERSITY STUDENTS

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายและกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา ด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย วิเคราะห์หลักการ แนวคิด และวิธีการ สร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย สร้างและทดลองโปรแกรม การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ในครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาไทย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ๑) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จำนวน ๑,๔๓๙ คน ๒) นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง ที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมฯ จำนวน ๓๐ คน ๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ๑) เครื่องมือหลักที่ใช้ในการศึกษาตามรายวัตถุประสงค์ การวิจัย ๒) เครื่องมือที่ใช้ทดลองภายในโปรแกรมฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑) นิสิตนักศึกษาไทยมีปัญหาด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ร้อยละ ๘๖.๕๕ ๒) การวิเคราะห์หลักการ แนวคิด และวิธีการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประกอบด้วย ๕ ด้าน ได้แก่ (๑) ด้านการรับรู้ในตนเอง (๒) ด้านความ อดทน (๓) ด้านความพากเพียร (๔) ด้านความสามารถแก้ไขปัญหา และ(๕) ด้านความรับผิดชอบ ๓) โปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประกอบด้วย (๑) หลักการ (๒) วัตถุประสงค์ (๓) กระบวนการ และ (๔) ผลการทดลองใช้โปรแกรมเมื่อนำไปใช้กับนิสิต นักศึกษา ภายหลังการทดลองพบว่านักศึกษาที่เข้าร่วมการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมมีการพัฒนา ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคขึ้นและมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จากผลการวิจัยแสดงว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถใน การเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย สามารถพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิต นักศึกษาไทยได้บรรลุตามเป้าหมาย

 

This is a descriptive research and quasi-experimental design that aimed to study the nature and problems of Thai university students’ Adversity Quotient (AQ), to analyze the principles, concepts and methods for enhancement of their AQ, and to develop and experiment with an AQ enhancement program. The population included Thai university students and senior experts with the sample group of 1) 1,439 public and private university students, 2) 30 f irst-year students of Lampang Rajabhat University who voluntarily joined the program, and 3) 8 senior experts. Researching tools were composed as follows:

1) The main tools for studying each research objective. 2) The tools for studying and experimenting with the Adversity Quotient Enhancement Program. The content analysis, descriptive statistics, frequency, mean, standard deviation, and t-test were employed in the data analysis. The research results could be summarized as follows. (1) Most Thai university students had problems related to the Adversity Quotient (86.55%). (2) The content analysis on the principles, concepts, and methods to enhance Thai university students’ AQ consisted of 5 aspects: (1) self perception, (2) endurance, (3) perseverance, (4) problem solving, and (5) responsibility. 3) The development of the AQ enhancement program including (1) the principles, (2) objectives, (3) procedures, and (4) experimental results after the implementation with the students. According to the post-trial results, the students who joined the activities in the program had an AQ improvement with a higher AQ level when compared to the pre-trial one at a 0.5 level of signif icance. Therefore, it could be concluded that the Adversity Quotient Enhancement Program for Thai university students is capable for developing their Adversity Quotient.

Downloads

How to Cite

พลชำนิ ส., พลสารัมย์ พ., & หงษ์ศิริวัฒน์ อ. (2014). การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ของนิสิตนักศึกษาไทย. Journal of Education Studies, 42(2), 148–163. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26161