การพัฒนาแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมจากครูพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Authors

  • สรัญญา จันทร์ชูสกุล อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อวยพร เรืองตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม, ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด, SOCIAL SUPPORT SCALE, MEASUREMENT INVARIANCE

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินการสนับสนุน ทางสังคมจากครูพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู ชั้นปีที่ ๕ ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูครั้งแรกในภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น ๒,๐๗๐ คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ มี ๔ มิติ จำนวน ๒๐ ข้อ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง และ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดการสนับสนุนทางสังคมระหว่างเพศ สาขาวิชา และสถาบันด้วย โปรแกรม SPSS และ Mplus 7

ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ ๑) แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นเป็นมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๒๐ ข้อ ๒) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า (๑) ความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC เท่ากับ ๑.๐๐ ทุกข้อ (๒) การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้การทดสอบที (t-test) สามารถจำแนกกลุ่มสูงและ กลุ่มตำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ทุกข้อ (๓) แบบประเมินมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖๖ และมีค่าความเที่ยงขององค์ประกอบย่อยอยู่ระหว่าง ๐.๘๕๕-๐.๙๔๐ (๔) แบบประเมินมีความ ตรงเชิงโครงสร้าง (๕) โมเดลการวัดการสนับสนุนทางสังคมมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบ องค์ประกอบของนักศึกษาที่มีเพศ สาขาวิชา และสถาบันที่แตกต่างกัน

 

The purposes of this research were to develop and to validate the cooperating teachers’ social support scale for student teachers’ professional teaching practice. Samples consisted of 2,070 f ifth year student teachers who had practiced in professional teaching. The developed 5-pointed Likert scale measuring the cooperating teachers’ social support consisted of 4 dimensions and 20 items. Data were analyzed by content validity, item discriminating power, reliability, construct validity and measurement invariance testing employing SPSS and Mplus 7.

The research f indings were: 1)The cooperating teachers’ social support scale was a 5-pointed Likert scale and consisted of 4 dimensions and 20 items. 2) The quality of cooperating teachers’ social support scale were as follows: (1) The developed scale had a content validity as measured by IOC index at 1.00. (2) The item discrimination of the high and low score groups using t-test was statistically signif icant at .01. (3) The reliability (α) of cooperating teachers’ social support scale was 0.966. The reliability of 4 sub-tests ranged from 0.855 to 0.940. (4) The scale had construct validity. (5) The factor form invariance between sex, major and university of student teachers.

Downloads

How to Cite

จันทร์ชูสกุล ส., เรืองตระกูล อ., & ตังธนกานนท์ ก. (2014). การพัฒนาแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมจากครูพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. Journal of Education Studies, 42(2), 131–147. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26157