รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
Keywords:
การบริหารจัดการ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, คุณภาพครูยุคใหม่, MANAGEMENT, TEACHER PROFESSIONAL EXPERIENCE TRAINING, MODERN TEACHER’S QUALITYAbstract
การวิจัยผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตามวงจร PDCA ๒) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู ๓) สร้างและประเมิน รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๓๑๒ คน อาจารย์นิเทศก์ ๑๖๙ คน และครูพี่เลี้ยง ๒๖๒ คน ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน รูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ค่าความแปรปรวนพหุ (MANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า ๑) การบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามการรับรู้ของอาจารย์นิเทศก์ มีคะแนน มากกว่าเกณฑ์ ส่วนการรับรู้ของครูพี่เลี้ยง มีคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) แนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู พบว่าควรจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน เน้นฝึกวิเคราะห์ ควรบ่มเพาะความเป็นครูตั้งแต่ปี ๑ สถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องมีความพร้อม อาจารย์นิเทศก์มีทักษะ การจัดการเรียนรู้และวิจัย ครูพี่เลี้ยงเป็นแบบอย่างที่ดี ๓) รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง องค์ประกอบคุณภาพครูยุคใหม่มี ๓ ด้าน คือ ความรู้ การจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะความเป็นครู ผลการประเมินรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this mixed method research were to 1) study the current condition of professional teacher training management according to the PDCA cycle; 2) study the guidelines from experts’ opinions on professional teachers training management to develop the modern teachers’ quality, and 3) create and evaluate the model for management of teacher professional experience training to develop the modern teachers’ quality. The sampling was conducted through two-stage random sampling as follows: 312 students, 169 supervisors, and 262 experienced teachers. Data were collected using questionnaires, interview forms, and evaluation forms. Analysis was carried out by descriptive statistics and multivariate analysis of variance (MANOVA).
The research results were as follows: 1) It was found that the condition of professional teacher training management as perceived by supervisors was higher than the criteria, and the experienced teachers’ perception was lower than the criteria with the statistical signif icance of 0.5 2) The result of the guidelines studied from the experts’ opinions on the professional teachers training management to develop the modern teachers’ quality revealed that learning management for modern teachers should be through training such as research based, learning by analysis, bolting teacher awareness. The faculty of education should choose the appropriate schools for training and choose supervisors with the learning management and research skills and also choose experienced teachers able to act as role models. 3) There were four processes in the model for management of teacher professional experience training to develop the modern teachers’ quality as follows: plan, do, check/ evaluate and act. There were three elements for the quality of the modern teachers’ quality as follows: knowledge, learning management and teacher characteristics. The result of a model evaluation was appropriate at the highest level.