รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา
Keywords:
รอยเชื่อมต่อ, การประถมศึกษา, การศึกษาปฐมวัย, TRANSITION, ELEMENTARY EDUCATION, EARLY CHILDHOOD EDUCATIONAbstract
การก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ในระบบโรงเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงเกิดที่ขึ้นกับเด็กทุกคน ซึ่งถือ เป็นประสบการณ์สำคัญสำหรับเด็กที่จะเรียนรู้และปรับตัวเพื่อก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้ การ เปลี่ยนแปลงในที่นี้เรียกว่า “รอยเชื่อมต่อ (transition)” เด็กทุกคนมักจะเผชิญรอยเชื่อมต่อ ๓ ระยะ คือ รอยเชื่อมต่อระหว่างบ้านและสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาล และประถมศึกษา และรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา บทความนี้มี วัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสำคัญของรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา และ นำเสนอแนวปฏิบัติสำหรับครูประถมศึกษาในการจัดการศึกษาในรอยเชื่อมต่อดังกล่าว เมื่อเด็กอยู่ใน รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายเป็นผลมาจาก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว แต่เนื่องจากพัฒนาการของเด็กวัยนี้ ยังไม่เอื้อต่อการยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นง่ายนัก การปรับตัวของเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อเป็น สิ่งสำคัญซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่เหมาะสมจากครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Moving to a formal school is a normal change occurring to every child. This step is determined as a crucial experience for children to learn and adjust themselves in order to overcome change. This change can be called a “transition.” There are three types of transitions that every young child must experience: (1) a transition from home to day care/ kindergarten school, (2) a transition from kindergarten school to elementary school, and (3) a transition from elementary school to middle/secondary school. The purposes of this article are to describe the importance of a transition between kindergarten school and elementary school and to present practical guidelines for elementary school teachers to educate children during the transition. When children move into the transition, there will be a number of changes that occur as a result of internal and external factors. The children may not pass through the transition easily due to their limited development. It is the role of teachers, parents, and others who are related to the children to support and facilitate the children’s adjustment.