การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษากับการสอนและการคิด สะท้อนเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิต ปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา

Authors

  • อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

Keywords:

การคิดสะท้อน, อนุทิน, นิสิตปริญญาเอกสาขาวิชาอุดมศึกษา, REFlECTIVE THINKING, DIARY, PH.D. STUDENTS OF DIVISION OF HIGHER EDUCATION

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และ แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๒) ประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษา ประกอบกับการบันทึกอนุทินและการคิดสะท้อน ในกิจกรรมปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา กรณีศึกษาคือ ๑) นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๔ คน ๒) นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตที่เคยศึกษารายวิชานี้ ชั้นปีที่ ๒ – ๕ ชั้นปีละ ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๔ คน ๓) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากสาขาวิชาอุดมศึกษา ที่เคยศึกษารายวิชานี้ จำนวน ๔ คน ได้แก่ สำเร็จการศึกษาภายใน ๓ ปี จำนวน ๒ คน สำเร็จการศึกษามากกว่า ๓ ปี จำนวน ๒ คน

ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชา การพัฒนานิสิตนักศึกษา ได้แก่ (๑) การพัฒนานิสิตนักศึกษา เป็นพันธกิจหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นภารกิจร่วมกันของบุคลากรทั้งมหาวิทยาลัย ทั้งระดับอาจารย์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องสอนนิสิต ในหลักสูตร และบุคลากรที่จะต้องปฏิบัติงานในกิจกรรมนอกหลักสูตร (๒) การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนกิจกรรม ในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ประกอบกับทฤษฎีการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๒) การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษาประกอบกับการบันทึก อนุทินและการคิดสะท้อนในกิจกรรมปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา ได้แก่ (๑) คณาจารย์ ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ทั้งในฐานะอาจารย์ ที่ปรึกษาทางวิชาการและอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิต (๒) การวัดและประเมินผล ควรแสดงวิธีการวัด ประเมินผลที่ชัดเจน การประเมินตามสภาพจริง (๓) นิสิตควรได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา สังคม และอารมณ์ ความมั่นใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสัมพันธ์กับผู้อื่น บุคลิกภาพ ค่านิยมและความเชื่อ

 

This qualitative research aimed to 1) study the current situations, problems, and guidelines to develop instruction of College Student Development of Higher Education course, and 2) apply of case study researches with diary and ref l ective thinking in activities for developing undergraduate students for Ph.D. students, division of higher education. Case studies comprise of 1) 4 cases of Ph.D. students in Year 1, 2) 4 cases of Ph.D. students doing courseworks in Years 2-5, and 3) 4 cases of Ph.D. graduates two of which completed the study within 3 years, and the other two more than 3 years.

The f indings were as follows: 1) Current situations, problems, and guidelines to develop instruction of College Student Development of Higher Education course. (1) Student development is higher education institution mission which is co-mission of all faculty members and staffs. Faculty members are lecturers as pedagogy as well as curriculum and instruction. Staffs are supporters as extra curriculur activities. (2) Curriculum and instruction emphasizes on analysis, shares opinion, and plans to activities in terms of college student development according to the theory of college student development. 2) Applying of case study researches with diary and ref lective thinking in activities for developing undergraduate students for Ph.D. students, division of higher education. (1) Lecturers should be involved in college student development as both academic advisors and student activity advisors. (2) Evaluation and assessment should be clear and authentic assessment. (3) Undergraduate students should be developed in terms of intellectual, social and emotional intelligences, self - conf idence, problem – solving skills, relationship, personality, and values and beliefs.

Downloads

How to Cite

หงษ์ศิริวัฒน์ อ. (2014). การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษากับการสอนและการคิด สะท้อนเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิต ปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา. Journal of Education Studies, 42(3), 111–125. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26030