การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีนและสมรรถนะการคิดขั้นสูง ด้วยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดแบบผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบอาคิตะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2023.13คำสำคัญ:
การพูดภาษาจีน, สมรรถนะการคิดขั้นสูง, การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, การจัดการเรียนรู้รูปแบบอาคิตะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบผสมผสาน (hybrid learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบอาคิตะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวนร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูง ฯ โดยมีนักเรียนจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 มีผลการทดสอบอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/15 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จำนวน 44 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันทึกการสอน แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบทดสอบท้ายวงจร แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาจีนและสมรรถนะการคิดขั้นสูง วิเคราะห์ข้อมูล จากการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ
การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 21.75 ร้อยละ 87.00 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 36 คน ร้อยละ 81.81 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) มีจำนวนนักเรียนผ่านการทดสอบสมรรถนะการคิดขั้นสูงอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป 41 คน ร้อยละ 93.18 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
References
ภาษาไทย
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2564, 10 มกราคม). การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ (Hybrid Learning). https://touchpoint. in.th/hybrid-learning/
ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามแนวอคิตะ (AKITA Action). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1(3), 9-16.
ชลันดา แสนอุบล. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการ เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิด Akita action model ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]
เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, เฉลิมชัย มนูเสวต และวาสนา วิสฤตาภา. (2562). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 13(1),1-19.
ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐ์พงษ์, ภูริสร์ ฐานปัญญา, และกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. นาคบุตรปริทรรศ, 12(3), 213 - 222.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ. 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). ทิศทางและแนวโน้มการจัดการศึกษาในยุคโควิด – 19. กรุงเทพฯ. พิมพ์ดี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). กรอบโครงสร้างเครื่องมือประเมินสมรรถนะการคิดขั้นสูง (ร่าง). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ภาษาอังกฤษ
AlNajdi, S. M. (2022, 12 February). Hybrid learning in higher education. https://www.researchgate.net/publication/318361485_HYBRID_LEARNING_IN_HIGHER_EDUCATION
Halim, A. S. A., Osman, K., Mohd Aziz, M. S. A., Ibrahim, M. F., & Ahmad, A. A. K. (2021). The competency of science teachers in integrating higher order thinking skills in teaching and learning. Journal of Physics: Conference Series. 1793(2021), 1-9. https://doi.org/10.1088/1742-6596/1793/1/012005
Harris, D.P. (1990). Testing English as a second language. New York. MaGraw Hill.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Deakin University.
Thiangtrong, P., Chano, J., & Nithideechaiwarachok, B. (2022). Learning management based on approach on multiplication and division for grade 3 students. Macro think Institute, 8(2), 589-602. https://doi.org/
5296/jei.v8i2.20302
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.