การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดเน้นผลลัพธ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบให้กับผู้เรียน
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2023.11คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, แนวคิดผลลัพธ์เป็นฐาน, ทักษะการคิดเชิงระบบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดเน้นผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบให้กับผู้เรียน และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมครู กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ได้มาจากการอาสาสมัครของครูผู้สอนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรและ 2) การทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลการใช้หลักสูตร ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดเน้นผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของครูระดับมัธยมศึกษา มี 9 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) ผลลัพธ์ของหลักสูตร 3) ผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อย 4) จุดประสงค์กิจกรรมการเรียนรู้ 5) เนื้อหาสาระ/ ประสบการณ์การเรียนรู้ 6) กิจกรรมการเรียนรู้ 7) โครงสร้างเวลา 8) แนวทางการจัดกิจกรรม และ 9) การประเมินผลลัพธ์ 2. การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ความสามารถในกระบวนการคิดเชิงระบบ ได้คะแนนร้อยละ 87.78 การออกแบบแผนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบ ได้คะแนนร้อยละ 91.11 และผู้เข้าอบรมตระหนักรู้ในบทบาทการสอนที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของผู้เรียน โดยวางแผนที่จะนำแนวคิดและหลักการที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
References
ภาษาไทย
กรรณิกา วิชัยเนตร. (2557). การสะท้อนคิด: การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการฝึก
ปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 190-198.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วีพรินท์.
ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง, และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่ สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2),
– 291.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms
/files/51810486.pdf
ปิยมาศ บุดดาน้อย และ กัญญารัตน์ โคจร. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วม
กับกลวิธี STAR ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องปริมาณ
สารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(3), 192 – 202.
ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และ สมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 209 – 224.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). Competency-based Education. https://cbethailand.com
อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2562). โมเดลการออกแบบการฝึกอบรมอิงกรณีศึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย] Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64748
อัสรี สะอีดี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย] Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63364
อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาด้วยรูปแบบผสานรวมที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงระบบและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58283
Arantes do Amaral, J. A., & Fregni, F. (2021). Fostering system thinking learning by combining problem-
based learning and simulation-based learning approaches. International Journal of Instruction, 14(3), 1-16. https://doi.org/10.29333/iji.2021.1431a
Forrest, J. (2008). A Response to paper "Systems Thinking" by D. Cabrera et al.: Additional thoughts on
systems thinking. Evaluation and Program Planning, 31(3), 333 – 334. https://doi.org/10.1016/j.evalprogplan.2008.04.008
Groundstroem, F., & Juhola, S. (2021). Using systems thinking and causal loop diagrams to identify
cascading climate change impacts on bioenergy supply systems. Mitigation and Adaptation Strategies for Global Change, 26(7). doi:10.1007/s11027-021-09967-0
Macayan, J. V. (2017). Implementing Outcome-Based Education (OBE) Framework: Implications for
Assessment of Students’ Performance. Educational Measurement and Evaluation Review,
(1), 1 – 10.
Nagarajan, S., & Overton, T. (2019). Promoting systems thinking using project- and problem-based learning.
Journal of Chemical Education, 96(12), 2901-2909. https://doi.org/10.1021/acs.jchemed.9b00358
Shankar, P. R., & Nandy, A. (2014). Student feedback on problem-based learning processes.
The Australasian medical journal, 7(12), 522 – 526. https://doi.org/10.4066/AMJ.2014.2208
Traeber-Burdin, S., & Varga, M. (2022). How does Systems Thinking support the
Understanding of Complex Situations?. 2022 IEEE International Symposium on Systems Engineering (ISSE), 1 – 7. doi: 10.1109/ISSE54508.2022.10005449.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.