การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2022.3คำสำคัญ:
กิจกรรมศิลปะ, ประสบการณ์สุนทรียะ, เด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นเป็นงานวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น และ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น โดยใช้การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประสาทสัมผัส 2) ด้านวิธีการสอน 3) ด้านสื่อ และวัสดุอุปกรณ์ และ 4) ด้านการวัดประเมินผลซึ่งนำไปพัฒนาเป็นกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นได้ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) ละเลงศิลปะบนผนังถ้ำ 2) นิทานใบไม้ 3) เขียนเส้นเล่นอารมณ์ และ 4) สร้างสรรค์ใบหน้าสไตล์ปิกัสโซ กิจกรรมทั้ง 4 สามารถสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้เด็กเกิดการรับรู้ความงามจากความเหมือนจริง เกิดการแสดงออกทางความคิด ความรู้สึกผ่านงานศิลปะ และเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ministry%20law/1-42%20handicap%20MoE.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กระทรวงศึกษาธิการ. http://academic.obec.go.th/images/document/1515232879_d_1.pdf
กำจร สุนพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ : หลักปรัชญา ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยเดช แก้วสง่า. (2556). เข้าใจสุนทรียศาสตร์ เข้าถึงคุณค่าความงามศิลปะ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 7(3), 1-8.
ทักษิณา พิพิธกุล. (2559). สุนทรียศาสตร์กับศิลปะ : จากการเสนอภาพตัวแทนถึงสุนทรียะเชิงสัมพันธ์. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 17(2), 18-24.
ปริญญา ชาวสมุน. (2562). เรียนศิลปะด้วยฝ่ามือ. http://www.judprakai.com/life/835
พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น. (2552). การวิเคราะห์รูปแบบในงานศิลปะ และบุคลิกลักษณะ (Style) ของศิลปิน. RUSAMILAE JOURNAL, 30(3), 87-95. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/70868
ยุพา มหามาตร. (2559). จากความมืดมนสู่แสงสว่างในมือเรา: การสร้างกระบวนการทางศิลปะกับจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการแสดงออกอย่างอิสระของเด็กผู้พิการทางสายตา. วารสารวิจิตรศิลป์, 7(2), 49-116.
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ. (ม.ป.ป.). กิจกรรมการปั้น เสริมสร้างจินตนาการ. http://www.blind.or.th/centre/intoProduct/1/?id=77
ภาษาอังกฤษ
Feeney, D. (2007). Toward an aesthetic of blindness: An interdisciplinary response to Synge, Yeat, and Friel. (Vol. 38). Peter Lang.
Isik. (2016). The impact of storytelling on young ages. European Journal of Language and Literature Studies, 2(3), 115-118. http://journals.euser.org/files/articles/ejls_sep_dec_16/muhammed.pdf?fbclid=IwAR3GMdIRldl8qUXiNH0l-kVOO-PbUbxhyjN8hVQOP4VD8ggfpAnGs6AT2q4
Kuo, M., Barnes, M., & Jordan, C. (2019). Do experiences with nature promote learning? converging evidence of a cause-and-effect relationship [Mini Review]. Frontiers in Psychology, 10(305). https://doi.org/10.3389/fpsyg.2019.00305
Lopes, A. (2015). Aesthetics, aesthetic theories https://www.researchgate.net/publication/283348334_Aesthetics_Aesthetic_Theories/citations
Mjallegra. (2012). Expressing emotions through color and line. https://art-engine.org/2012/02/26/expressing-emotions-through-color-and- line/?fbclid=IwAR23v6WpZPM5ZfUKVsOK_iPWtXTuT53NZQCbot9WIrd9Gm8pI8skW_wB08
Phyl. (2010). Into the caves! by 4th grade https://plbrown.blogspot.com/2010/05/into-caves-by-4th-grade.html?fbclid=IwAR3s4BkVf1hH7oWeVVcMlr3LP7CMTFfB_T_wU3TBZFdAs33s-djb-25rWRA
Play Ideas. (2021). 25 Picasso inspired art projects for kids. https://www.playideas.com/25-picasso-inspired-art-projects-forkids/?fbclid=IwAR1fNplRw9pYIqfiVpfJ_qiwK4uFdeXeC_Fo2WFD5XofmgtPjEp3YMuNLFE
Poole, J. (1992). Age related changes in sensory system dynamics related to balance. Physical & Occupational Therapy In Geriatrics, 10(2), 55-66. https://doi.org/10.1080/J148v10n02_04
Royal Society of Chemistry. (2021). Analysis of cave paintings. https://edu.rsc.org/resources/analysis-of-cave-paintings/1586.article?fbclid=IwAR3LsyfKwWNanFzuZwdBwcJegGDPKloexGP3Vs1QEihl0tKSIJT39RUJBU
Szubielska, M., Pasternak, K., Wójtowicz, M., and Szymannska, A. (2018). Evaluation of art of visually impaired people by children and adults. https://www.researchgate.net/publication/330422916
Wiltshir, C. (2014). Michael J. Parsons. https://prezi.com/vrtxmroeusao/michael-j-parsons/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.