ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • สันติชูชัย ชำนาญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กุลชลี จงเจริญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2021.74

คำสำคัญ:

ปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, โยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และ ความเท่าเทียมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) ศึกษาสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางการบริหารกับสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 4) ศึกษาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโดยวิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ และสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง และ 4) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล ด้านผู้นำองค์การ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร  และด้านข้อความนโยบาย ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษาได้ร้อยละ 64.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biographies

สันติชูชัย ชำนาญ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

กุลชลี จงเจริญ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อาจารย์ประจำแขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อาจารย์ประจำแขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.
สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
¬¬¬¬¬¬¬¬กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563-2565). กระทรวงศึกษาธิการ.
กล้า ทองขาว. (2563). หน่วยที่ 3 การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ. ใน ประมวลสาระชุดวิชานโยบาย การวางแผน
และการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา หน่วยที่ 1-5 (น. 1 - 86). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกียรติศักดิ์ เศรษฐพินิจ. (2556). ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม
[วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยสาส์น.
ไพศาล บรรจุสุวรรณ. (2558). การนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด
สุราษฎร์ธานี [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. สหายบล๊อกและการพิมพ์.
วิจิตร ศรีสอ้าน, ทองอินทร์ วงศ์โสธร, และ เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2563). หน่วยที่ 1 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบายและ
การวางแผน. ใน ประมวลสาระชุดวิชานโยบาย การวางแผนและการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา หน่วยที่ 1-5
(น. 1-91). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 25). เสมาธรรม.
สัญญา เคณาภูมิ. (2560). การประเมินผลนโยบายสาธารณะ : หลักการ รูปแบบ และวิธีการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, 11(1), 33-48.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศ
ราชกิจจานุเบกษา). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2562). รายงานการติดตามการขับเคลื่อนการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของ
เด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นในรูปแบบที่เหมาะสม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562. สุราษฎร์การพิมพ์.
สุรเชษฐ์ กันติชาพิพัฒน์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการบริหารวิชาการเพื่อรับใช้สังคมไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิรัชต์ สุดทองคง. (2556). อิทธิพลของปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของ
แผ่นดิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
อารีย์ วิธิศุภกร. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติในสถาบันวิชาการ
ทหารอากาศชั้นสูง [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อิทธิชัย สีดำ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไป
ปฏิบัติ : ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาษาอังกฤษ
Anderson, J. (2003). Public policy making: An introduction (3rd ed.). Mifflin College.
Brewer, G. D., & deLeon, P. (1983). The foundations of policy analysis. Dorsey.
Burdette, K. R. (2013). Factors affecting the implementation of policy 2450, distance education and the
West Virginia Virtual School, as perceived by principals/assistant principals, counselors, and
distance learning contacts and/or course facilitators (Order No. 3571588) [Doctoral dissertation,
West Virginia University]. ProQuest Dissertations and Theses Global.
Daft, R. L. (2008). The leadership experience (4th ed.). Thomson South-Western.
Edwards, G. C. III. (1984) Implementing public policy. Congressional Quarterly.
Francis, N. N., Ngugi, M., & Kinzi, J. (2017). Influence of selected factors on the implementation of
information and communication technology policy in public secondary schools in Naivasha sub-
county, Kenya. International Journal of Education and Development using Information and
Communication Technology, 13(2), 70-86.
Ghasemi, M., Shahriyari, H., & Bandani, E. (2016). Identifying and prioritizing the effecting factors on
implementing policies of medical science University of Zabol. Problems and Perspectives in
Management, 14(3), 396-400.
Jones, G. R., & George, J. M. (2016). Contemporary management (9th ed.). McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and
Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Sabatier, P., & Daniel, M. (1980). The implementation of public policy: A framework of analysis. Policy
studies journal contents, Special issue, 538-560.
Sandra, H., Michale, M., & Gerd, S. (2003). Policy formulation and implementation. Bodenkultur.
Sergiovanni, T. J., Burlingame, M., & Coombs, F. S. (1992). Educational governance and administration
(3rd ed.). Prentice Hall.
Vajirakachorn, S. (2014). Factors affecting the implementation of government air pollution reduction and
elimination policy: A case study of Map Ta Phut Industrial Estate, Rayong province, Thailand.
Southampton: W I T. http://dx.doi.org/10.2495/EID140591.
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework.
Administrative & Society, 6(4), 445-488.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

How to Cite

ชำนาญ ส., จงเจริญ ก., & พ่วงสมจิตร์ ช. (2021). ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(4), EDUCU4904015. https://doi.org/10.14456/educu.2021.74