การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปได้ของการขยาย ความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2021.66คำสำคัญ:
การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน, การถ่ายโยงการเรียนรู้, ความเป็นไปได้ในการขยายความของ การโน้มน้าวใจในการขยายความ, ทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปของการขยายความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล ตัวอย่างในการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริกส์ มีค่าความเที่ยงภายในผู้ให้คะแนน เท่ากับ .934 และแบบวัดเจตคติในการพยาบาลผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค และ 0.825 ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการเรียนการสอน ซึ่งมี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสามารถ ขั้นสร้างโครงสร้างความรู้และวางแผนการพยาบาล ขั้นปฏิบัติการพยาบาล และขั้นไตร่ตรองและสรุปความคิดรวบยอด (4) การกำหนดขอบเขตในการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอน พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในภาพรวมภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุไทย พ.ศ. 2557. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พัลลิเคชั่น.
สภาการพยาบาล. (2552). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550-2559. ศิริยอดการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Emerson, R. J. (2007). Nursing education in the clinical setting. Mosby.
Gaberson, K., Oermann, M., & Shellenbarger, T. (2014). Clinical teaching strategies in nursing (4th ed.). Springer.
Kristen, L. M. (2017). Gerontological nursing competency for care. Jones & Bartlett Learning.
Perkins, D. N., & Salomon, G. (2012). Knowledge to go: A motivational and dispositional view of transfer. Educational Psychologist, 47(3), 248-258.
Schumann, D. W., Kotowski, M. R., Ahn, H. Y., & Haugtvedt, C. P. (2012). The elaboration likelihood model: A 30-year review. In S. Rogers, & E. Thorson (Eds.), Advertising theory (pp. 51-68). Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.