การพัฒนากระบวนการสอบ E-testing ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
คำสำคัญ:
การสอบออนไลน์, โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการระบบ E-testing ของมหาวิทยาลัยที่ร่วมจัดการเรียนการสอนในโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย 2) ออกแบบระบบ E-testing ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย 3) จำลองการสอบโดยใช้โมเดลต้นแบบ (prototype model) ระบบ E-testing ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ตัวอย่าง คือ อาจารย์ที่รับผิดชอบชุดวิชาที่เปิดสอนออนไลน์ และเจ้าหน้าที่ที่ทำการผลิตบทเรียนออนไลน์ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและแบบบันทึกการระดมความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของระบบ E-testing ได้ผลสรุปภาพรวมเกี่ยวกับ (1) วัตถุประสงค์ของการสอบ (2) คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนสอบ (3) ค่าธรรมเนียมการสอบ (4) ช่วงเวลาการสอบ (5) การเป็นศูนย์สอบ (6) ข้อสอบที่ใช้สอบ 2) ระบบ E-testing ของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 7 ระบบ ได้แก่ (1) ระบบสมัครสมาชิกและลงทะเบียนสอบ (2) ระบบจัดการสอบ (3) ระบบจัดการข้อสอบและแบบทดสอบ (4) ระบบควบคุมการสอบ (5) ระบบทดสอบ (6) ระบบตรวจข้อสอบอัตนัย (7) ระบบรายงานผลและข้อมูลสถิติ 3) ผลการใช้งานระบบ E-testing เพื่อจำลองการทดสอบ พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงผลลัพธ์ของหน้าจอได้ถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้ทุกประการ
References
ณฐภัทร ติณเวส และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 1463-1479.
ดำรงค์ สุพล. (2555). ระบบคลังข้อสอบออนไลน์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ. The Eighth National Conference on Computing and Information Technology. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.
รัฐพงษ์ อ่อนจันทร์. (2557). ระบบสอบออนไลน์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วีระศักดิ์ วีระวงศ์. (2554). การบริหารระบบการจัดการการสอบออนไลน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สมพันธุ์ ชาญศิลป์ และคะชา ชาญศิลป์. (2550). ระบบสอบออนไลน์เคลื่อนที่ของ มทส. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Al-amri, S. (2009). Computer-based testing vs. paper-based testing: establishing the comparability of reading tests through the evolution of a new comparability model in a Saudi EFL context. Thesis submitted for the degree of Doctor of Philosophy in Linguistics.University of Essex.
Karadeniz, S. (2009). The impacts of paper, web and mobile based assessment on students’ achievement and perceptions. Scientific Research and Essay, 4(10), 984 – 991.
The Online Learning Consortium. (2563). Quality Scorecard for Online Student Support. https://onlinelearningconsortium.org