การวิเคราะห์การบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล

ผู้แต่ง

  • Foithong, P. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Siribanpitak, P. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Xupravati, P. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, คุณภาพการศึกษา, โรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล และ 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ตัวอย่าง คือ โรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล จำนวน 89 โรง ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 177 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ประกอบด้วย กรอบแนวคิดเรื่องกระบวนบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (ERM) และคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคลมีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ได้แก่ การจัดการความเสี่ยง (PNImodified = 0.162) การรายงานและติดตามผล (PNImodified = 0.131) การประเมินความเสี่ยง (PNImodified = 0.130) การกำหนดวัตถุประสงค์ (PNImodified = 0.126) และการระบุความเสี่ยง (PNImodified = 0.114)

References

ภาษาไทย
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ. (2554). การบริหารความเสี่ยงสากล ISO 3100 กับระบบการศึกษาของไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 4(1), 419-434.
คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). แนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมโรงเรียนนิติบุคคล (รูปแบบใหม่). สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2552). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). กรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเชิงบูรณาการ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. เนติกุลการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). สรุปผลการประเมิน PISA 2015. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การบริหารความเสี่ยง (Risk management) (ฉบับปรับปรุง). สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กระทรวงศึกษาธิการ.

ภาษาอังกฤษ
Baller, S., Dutta, S., & Lanvin, B. (2016). The global information technology report 2016. World Economic Forum.
The Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission [COSO]. (2004). Enterprise risk management–Integrated framework. AICPA.
Yamane, T. (1967). Taro statistic: An introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-15

How to Cite

ฝอยทอง พ. ., ศิริบรรณพิทักษ์ พ. ., & ชูประวัติ เ. . (2021). การวิเคราะห์การบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(1), EDUCU4901004 (12 pages) doi: 10.14456/educu.2021.4. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/247844