การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูลตามแนวคิดฐานสมรรถนะ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ แพงเรือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุมาลี ชิโนกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูล, หลักสูตรแนวคิดฐานสมรรถนะ, การพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร ดำเนินการใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้ 4) การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปทดลองใช้นำร่อง ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรตามแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน ในปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบสอบวัดความรู้ แบบประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูล และแบบประเมินเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของหลักสูตร (2) จุดมุ่งหมาย (3) สมรรถนะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูล (4) คำอธิบายรายวิชา (5) ผลการเรียนรู้ (6) โครงสร้างเวลาเรียน (7) หน่วยการเรียน (8) กิจกรรมการเรียนรู้ (9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ (10) แนวการวัดประเมินผล หลังการใช้หลักสูตร พบว่า ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและเจตคติสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และผู้เรียนทุกคนมีแนวโน้มพัฒนาการความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูลที่ดีขึ้นอย่างเป็นลำดับเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด

References

ภาษาไทย
กรมวิชาการ. (2544). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ปองรัตน์ ศรีสืบ และ ปัญชลี วาสนสมสิทธิ์. (2553). การศึกษาความต้องการในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สามของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(3), 84-98.
รุ่งระวี สมะวรรธนะ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตามทฤษฎีการเรียนรู้เน้นประสบการณ์และแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษา เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21321
สถาบันภาษาอังกฤษ. (2553). คู่มือการดําเนินงานศูนย์ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วูเนน.
สิริวรรณ ภิญโญลักษณา. (2549). รายงานวิจัย: โครงการ "การใช้วีดิทัศน์ในการสอนแบบเข้มเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-การพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง 2".
ม.ป.พ. https://opac.kku.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00299594
สุวรรณี พันธุ์พรึกส์ และ ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2550). การศึกษาความสามารถ ปัญหาและความต้องการ ในการใช้ ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 17(3), 66-72.
สำนักงานเลขาธิการ. (2556). 6 ก้าว 7 ยุทธศาสตร์ ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2548). รายงานการวิจัยโครงการวิจัยเชิงทดลองกระบวนการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ภาษาอังกฤษ
Celce-Murcia, M. (2001). Teaching English as a second or foreign language (3rd ed.). Heinle & Heinle.
Flowerdew, J., & Peacock, M. (2001). Research perspectives on English for academic purposes. Ernst Klett Sprachen.
Iberri-Shea, G. (2009). Using public speaking tasks in English language teaching. ERIC. http://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ923450.pdf
Jordan, R. R. (1997). English for academic purposes: A guide and resource book for teachers. Cambridge University Press.
Kulsili, S. (2006). A critical analysis of the 2001 national foreign language standards-based curriculum in the Thai school system [Doctoral dissertation]. University of Canberra. https://researchprofiles.canberra.edu.au/en/studentTheses/a-critical-analysis-of-the-2001-national-foreign-language-standar
Pennycook, A. (1998). English and the discourses of colonialism. Routledge.
Richards, J. C. (2001). Approaches and methods in language teaching (2nd ed.). Cambridge University Press.
Wallace, M., & Pocklington, K. (2002) Managing complex educational change: Large-scale reorganisation of schools. Routledge Falmer.
Wallace, M., & Poulson, L. (2003) Learning to read critically in educational leadership and management. Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

แพงเรือน น. ., วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า ว. ., & ชิโนกุล ส. . (2020). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อให้ข้อมูลตามแนวคิดฐานสมรรถนะ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(4), 200–220. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/246430