ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ณชนก หล่อสมบูรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โสมฉาย บุญญานันต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การสร้างสรรค์ผลงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศศิภา จำนวน 16 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 100 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก และ 6) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ repeated measures ANOVA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลอง กลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ภาษาไทย
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่6). ไทยวัฒนาพานิช.
ดวงจันทร์ วรคามิน และคณะ. (2559). โครงการการศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทวีเดช จิ๋วบาง. (2549). ความคิดสร้างสรรค์ศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่2). โอเดียนสโตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูปฯ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด. โอเดียนสโตร์.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). พัฒนาทักษะการคิด ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุชาติ เถาทอง. (2536). หลักการทัศนศิลป์. พิมพ์อักษรกราฟิค.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). ทักษะการคิด : พัฒนาอย่างไร. อินทร์ณน.

ภาษาอังกฤษ
Brown University. (2008). Teaching for artistic behavior: Choice-based art. The Education Alliance.
Douglas, K., & Jaquith, D. (2009). Engaging learners through artmaking. Teachers College.
Joo, Y. (2014). Teaching strategies for implementing choice-based art curriculum [Master’s Thesis]. ScholarWorks @ Georgia State University. https://scholarworks.gsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1179&context=art_design_theses
Moczerad, H. K. (2015). Choice-based art: Students who create, no replicate [Master’s thesis]. Semantic Scholar. https://scholarworks.wmich.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1584&context=masters_theses&httpsredir=1&referer=
Varian, S. (2016). Choosing creatively: Choice-based art education in an inclusive classroom [Master’s thesis]. ERIC. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED567778.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

หล่อสมบูรณ์ ณ. ., & บุญญานันต์ โ. . (2020). ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(4), 166–181. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/246422