การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์
คำสำคัญ:
การประเมินความต้องการจำเป็น, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะ ศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ ตามการรับรู้ของอาจารย์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ ตัวอย่าง คือ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ จำนวน 301 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบการตอบสนองคู่ที่มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่มากที่สุดถึงน้อยที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้เรียน (M = 3.67, SD = 0.80) และ 2) ความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ พบว่า มีความต้องการจำเป็นในด้านผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ ตามลำดับ (PNI modified = 0.22, 0.16 และ 0.16 ตามลำดับ)
References
ขวัญชัย ขัวนา, ธารทิพย์ ขัวนา, และ เลเกีย เขียวดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 77-96. http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article2126_41794.pdf
ดวงใจ งามศิริ, นิภาพร บุญยศ, และ นิพล พินิจวัจนะวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบ MACRO model ในรายวิชาการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 69-80. http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/mcu-nan/article/view/
4388/3279
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุรีวิริยาสาส์น.
ปิยพงษ์ คล้ายคลึง. (2551). แนวทางการพัฒนาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัยของรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62094
พวงพยอม ชิดทอง และ ปวีณา โฆสิโต. (2560). บทบาทของอาจารย์ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับบัณฑิตไทย. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 1-11. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/
pikanasan/article/view/97882/76262
วัฒนา หงสกุล. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “Graduate school conference 2018”, 1(2), 479-486. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/1642
สิทธิพงษ์ สุพรม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(2), 49-58. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/149198/119040
สุชาดา แก้วพิกุล. (2555). การพัฒนากิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนอย่างกระตือรือร้นโดยเน้นการเรียนเป็นคู่ร่วมกับการบริหารสมองเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. http://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/3753
สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. Behavioral Science Research Institute Search (BSRIS). http://bsris.swu.ac.th/thesis/55199120027RB8992555f.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก : กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/196788/136790
ภาษาอังกฤษ
Coorey, J. (2016). Active learning methods and technology: Strategies for design education. The International Art & Design Education, 35(3). 337-347. https://doi.org/10.1111/jade.12112
McKinney, K., & Heyl, B., (Eds.). (2008). Sociology through active learning (2nd ed.). SAGE/Pine Forge.
Michel, N., Cater, J., & Varela, O. (2009). Active versus passive teaching styles: An empirical study of student learning outcomes. Human resource development quarterly, 20(4), 397-418. https://doi.org/10.1002/hrdq.20025
Naithani, P. (2008). Reference framework for active learning in higher education. Higher Education in the Twenty-First Century: Issues and Challenges, 113-120. https://www.researchgate.net/publication/282124753_Reference_framework_for_active_learning_in_higher_education