รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือนภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตปริญญาบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • เกษมสันต์ สกุลรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จินตวีร์ คล้ายสังข์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ใจทิพย์ ณ สงขลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, กรณีศึกษา, ความสามารถในการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของนิสิต อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสอนสาขาเกษตร และสาขาสื่อการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน และ 2) เพื่อออกแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือนภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตสาขาเกษตร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับนิสิต และใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับอาจารย์สาขาเกษตร จำนวน 9 คน และอาจารย์สาขาสื่อการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของนิสิตคือ สื่อการเรียนรู้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 55.8 ความรู้ที่ต้องการพัฒนามากที่สุดคือ ด้านการเกษตร และการคิดแก้ปัญหา ร้อยละ 74.3 และ 68.8 ตามลำดับ ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของอาจารย์ คือ ภาระงานมากเกินไปทำให้ไม่มีเวลาพัฒนาตนเอง ส่วนการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือน ได้ประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาสร้างรูปแบบโดยมี 5 องค์ประกอบ คือ คน เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ กิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ และการประเมินผล ส่วนกิจกรรมการเรียนรู้ มี 4 ระยะ คือ การเตรียมความพร้อมผู้เรียน การทดสอบก่อนเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือนต่อไปในอนาคต

References

Barker, W., Holder, C., Jones, J., & Smith, D. (2013). Virtual learning community – modeling teaching and learning in the NC community college system. Retrieved from http://vlc.nccommunitycolleges.edu/about/index.html
Chang, C. Y. (2008). Does problem solving = prior knowledge + reasoning skills in earth science? An exploratory study. Research in Science Education, 40, 103–116. https://doi.org/10.1007/s11165-008-9102-0
Cifuentes, L., Mercer, R., Alverez, O., & Bettati, R. (2010). An architecture for case-based learning. TechTrends, 54(6), 44–50. https://doi.org/10.1007/s11528-010-0453-9
Fongsri, P. (2011). Educational research. (8th ed.). Darnsutha press
Freiman, V., & Lirette-Pitre, N. (2008). Building a virtual learning community of problem solvers: example of CASMI community. ZDM Mathematics Education, 41, 245-256. https://doi.org/10.1007/s11858-008-0118-8
Kemp, S. (2017, 25 January). Digital in 2017: Global overview. We Are Social. https://wearesocial.com/sg/blog/2017/01/digital-in-2017-global-overview
Khan, B.H. (2005). Managing e-learning: design, delivery, implementation, and evaluation. Information Science Publishing.
Khlaisang, J., & Koraneekit, P. (2016). Design of web-based learning: a framework for integrating of blended learning, e-learning and online learning into your class. Chulalongkorn University Press.
Khlaisang, J., & Songkram, N. (2013). E-learning system to enhance cognitive skills for learners in higher education: A review of possibly open education. International Journal of the Computer, the Internet and Management, 21(1), 17–23.
Khlaisang, J., & Songkram, N. (2017). Designing a virtual learning environment system for teaching twenty-first century skills to higher education students in ASEAN. Technology, Knowledge and Learning, 24, 41–63. https://doi.org/10.1007/s10758-017-9310-7
Khlibtong, J. (2011). Learning community: Teaching materials unit 1-7 information and communication media in agricultural extension. Sukhothai Thammathirat Open University.
Laohajaratsang, T. (2009). Classroom of Tomorrow. http://thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/Classroom%20of%20Tomorrow.pdf
Ministry of Education. (2017). The National education plan B.E.2017 – 2036. Office of the Education Council.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). The 12th National economic and social development plan (2017-2021). Office of the Prime Minister.
Office of the Secretary of the Council of Education. (2017). National education plan (2017 – 2036). Ministry of Education.
Palloff, R.M., & Pratt, K. (2007). Building online learning communities. (2nd ed.). Jossey-Bass.
Sharma, R.C., Sanjaya, M., & Pulist S.K. (2005). Education in the digital world. Viva.
Sriarunrasmee, J., Suwannatthachote, P., & Dachakupt, P. (2015). Virtual field trips with inquiry learning and critical thinking process: A learning model to enhance students’ science learning outcomes. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 197, 1721–1726. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2015.07.226
Statista (2017). Thailand: social network penetration Q4 2016. https://www.statista.com/statistics/284483/thailand-social-network-penetration
The Chaipattana Foundation. (2007). Sufficiency economy and the new theory. Amarin Printing & Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite

สกุลรัตน์ เ. ., คล้ายสังข์ จ. ., & ณ สงขลา ใ. . (2020). รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเสมือนภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(4), 20–40. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/246410