ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
สะตีม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความคิดสร้างสรรค์, เจตคติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 20 คน ผู้วิจัยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบ One sample t-test และ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 85.75 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานประจำปี 2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. http://www.most.go.th/main/MOSTannualReport2017/MOST-AR2017.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษลดา ชูสินคุณาวุฒิ. (2557). รอบรู้เทคโนโลยี กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมคืออะไร. นิตยาสาร สสวท., 42(190), 37-41.
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. ซัคเซสพับลิเคชั่น.
จารีพร ผลมูล, สุนีย์ เหมะประสิทธิ์, และ เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: กรณีศึกษาชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. Jaurnal KKU ResJHS (GS), 3(2), 1-13.
ชนัฏดา ภูโปร่ง, ต้นสกุล ศานติบูรณ์, และ นุกูล กุดแถลง. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. ใน โครงการบัณฑิตศึกษาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (บ.ก.), นวัตกรรมสร้างสรรค์ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 (น. 790-798).
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 20). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฟัตมาอัสไวนี ตาเย๊ะ, ณัฐินี โมพันธุ์, และ มัฮดี แวดราแม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1-14.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทยปี 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร”. พิมพ์ดี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในยุคไทย 4.0 ตามแนวคิด STEM, STEAM, STREAM. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 13(1), 19-30.
สุนารี ศรีบุญ. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาษาอังกฤษ
The Institute for Arts Integration and STEAM. (2020). What is STEAM education. Institute for Arts Integration and Steam. https://educationcloset.com/what-is-steam-education-in-k-12-schools/?fbclid=IwAR0EFtrxnGpVHA2woe7UYQujww_PNnlYHaODb2g1rs
MEBXWiGgdtvR22Fw0
Kim, Y., & Park, N. (2012). Development and application of STEAM teaching model based on the Rube Goldberg’s is invention. Computer Science and Its Applications Lecture Notes in Electrical Engineering, 203(1), 693-698.
Kim, G. S., & Choi, S. Y. (2012). The effects of the creative problem solving ability and scientific attitude through the science-based STEAM program in the elementary gifted students. Journal of Korean Elementary Science Education, 31(2), 216-226.
Schwab, K. (2014). Quality of primary education. In Klaus Schwab (Ed.), The Global Competitiveness Report 2014-2015. World Economic Forum (pp. 452–453). http://www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2014-15.pdf
Yakman, G. (2010). What is the point of STE@M? – A brief overview. STE@M Education. https://steamedu.com/wpcontent/uploads/2016/01/What_is_the_Point_of_STEAM_A_Brief_Overv.pdf
Yakman, G., & Lee, H. (2012). Exporing the exemplary STEAM education in the U.S. as a practical educational framework for Korea. Journal of the Korean Association for Science Education, 32(6), 1072-1086.