การบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาตามแนวคิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก

ผู้แต่ง

  • กฤติยา แผ่นทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชา, ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ และ 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการ ของโรงเรียนกวดวิชาตามแนวคิดการยกระดับ
ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนกวดวิชาที่จัดการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 191 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ครูวิชาคณิตศาสตร์ และครูวิชาวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดในการบริหารวิชาการที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งบูรณาการขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลกใน 3 เรื่อง ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ 2) สภาพปัจจุบันในการบริหารวิชาการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงที่สุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยการวัดและประเมินผลมีความต้องการระดับมากที่สุด

References

ไทยพับลิก้า. (2556, 17 มีนาคม). “กวดวิชา” มาตรฐานการศึกษาไทย เรียน “เพื่อสอบ” หรือเรียน “เพื่อรู้”. ไทยพับลิก้า. https://thaipublica.org/2013/03/tutorial-critical-study-of-thailand/
ปองสิน วิเศษศิริ. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชา 2747732 การบริหารงานวิชาการกับการประกันคุณภาพการศึกษา [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารวิชาการ. ศูนย์สื่อเสริมสุขภาพ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). PISA โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ [แผ่นพับ]. ซัคเซสพับลิเคชั่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015. ซัคเซสพับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560, 31 ตุลาคม). การเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ปี 2018. รักครู. https://www.xn--12cg5gc1e7b.
com/12363/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการผลกระทบของโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชาต่อระบบการศึกษาในมิติด้านเศรษฐศาสตร์และด้านการศึกษาโดยรวม. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2560-2579). พริกหวานกราฟฟิค.

ภาษาอังกฤษ
Brunner, M., Artelt, C., & Krauss, S. (2007). Coaching for the PISA test. Learning and Instruction, 17(2), 111–122. https://doi.org/10.1016/j./earninstruc.2007.01.002
Hallinger, P., & Lee, M. (2014) Mapping instructional leadership in Thailand: Has education reform impacted principal practice?. Educational Management Administration & Leadership, 42(1), 6-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

แผ่นทอง ก., อุสาโห ช. ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. . (2020). การบริหารวิชาการของโรงเรียนกวดวิชาตามแนวคิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), 18–33. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/243173