มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • อัครพล พรมตรุษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อุเทน ปุ่มสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน, ข้อผิดพลาด, อสมการ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ และ (2) หาสาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางการเรียน เรื่อง อสมการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียน 2 รูปแบบ ได้แก่ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางด้านภาษา และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางด้านทฤษฎีบท กฎ สูตร บทนิยาม หรือสมบัติ และ (2) สาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ได้แก่ การแปลความหมายของศัพท์เฉพาะผิด การไม่เข้าใจความหมายของประโยคข้อความ การเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน การเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน และพื้นฐานทางการคำนวณอยู่ในระดับต่ำ

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชานนท์ จันทรา. (2553). ขั้นตอนวิธีการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครู. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.
ทองคำ นาสมตรึก, สมทรง สุวพาณิช, และ อรุณี จันทร์ศิลา. (2555). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 75-88.
วิชัย ดิสสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สถิติ O-NET ย้อนหลัง. สืบค้นจาก http://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุกัญญา สีสมบา. (2554). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สุรัตนา สังข์หนุน, ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง, และ สุพร รัตนพันธ์. (2554). การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 627-635.
อัมพร ม้าคนอง. (2536). การวินิจฉัยข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2551). การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ และคำถามระดับสูง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Allen, D. G. (2007). Student thinking. Retrieved from http://mtc.tamu.edu/9-12/index_9-12.htm?9-12M2L1.htm
Chai, C. M., & Ang, B. H. (1987). Identifying the reasons underlying pupil’s particular errors in simple algebraic expression and equations. Proceedings of Fourth Southeast Asian Conference on Mathematical Education (ICMI–SEAMS) (1-3), 189–198.
Cornbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Graeber, A. (1992, April). Recognizing and changing middle school students' mathematical misconceptions. Paper presented at the 70th annual meeting of the National Council of Teachers of Mathematics. Nashville, TN.
Hopkins, C. D., & Antes, R. L. (1990). Classroom measurement and evaluation (3rd ed.). Itasca, IL: F. E. Peacock.
Movshovitz-Hader, N., Zaslavsky, O., & Inbar, S. (1987). An empirical classification model for errors in high school mathematics. Journal for Research in Mathematics Education, 18(1), 3-14.
Radatz, H. (1979). Error analysis in mathematics education. Journal for Research in Mathematics Education, 10(3), 163-172.
Riccomini, P. J. (2005). Identification and remediation of systematic error patterns in subtraction. Learning Disability Quarterly, 28(3), 233–242.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

พรมตรุษ อ., & ปุ่มสันเทียะ อ. (2019). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 539–561. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/232138