ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์, แรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศ, นักศึกษาระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาด้วยการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ และเพื่อศึกษาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งจำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ (2) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศตามแนวพุทธศาสตร์ และ (3) คำถามแบบมีโครงสร้างในการศึกษาประสบการณ์การปรึกษาแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Wilcoxon signed rank test และการวิเคราะห์จำแนกชนิดข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองสะท้อนความคิดว่า สามารถแยกความแตกต่างระหว่างแรงจูงใจเทียม (มานะ) และแรงจูงใจแท้ (ฉันทะ) ได้ นอกจากนี้ กลุ่มทดลองเกิดความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการมีแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง
References
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล และ วรางคณา โสมะนันทน์. (2561). การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศตามแนวพุทธศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เผยนิสิตนักศึกษา 6.4% พยายามฆ่าตัวตาย. (2562, 14 มีนาคม). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/829634
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2541). การศึกษา: เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). การศึกษา: มองเมื่อ 30 ปีก่อน. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ) (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
ภทรพ ยุทธาภรณ์พินิจ, ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์, และ ภีรวัฒน์ นนทะโชติ. (2553). การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตามแนวคิดของ ป.อ.ปยุตโต. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 23(1), 19-32.
อาภา จันทรสกุล. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษาในสถาบันการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภาษาอังกฤษ
Atkinson, J. W. (1964). An introduction to motivation. New York: D.V. and Nostrand.
Ayres, L., & Knafle, K. A. 2008. Typological Analysis. In L. M. Given (Ed.), Sage encyclopedia of qualitative research methods (pp. 900-901). Thousand Oaks, CA: Sage.
Corey, G. (2013). Theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.
Eccles, J. S. (1993). School and family effects on the ontogeny of children’s interests, self-perceptions, and activity choice. In J. Jacobs (Ed.), Nebraska symposium on motivation, 1992: Developmental perspectives on motivation (pp. 145–208). Lincoln: University of Nebraska Press.
Jacobs, E. E., Masson, R. L., & Harvill, R. L. (2009). Group counseling: Strategies and skills. Australia: Thomson/Brooks/Cole.
McClelland, D. C. (1987). Characteristics of successful entrepreneurs. Journal of Creative Behavior, 21(3), 219–233.
Yalom, I. D. (1995). The theory and practice of group psychotherapy (4th ed.). New York: Basic Books.
Zuleica, R. A., & Jaime, L. (2017). Passion for math: Relationships between teachers’ emphasis on class contents usefulness, motivation and grades. Contemporary Educational Psychology, 51(1), 284-292.