การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
คำสำคัญ:
ประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย และ (2) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 89.10 คะแนน ขณะที่นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 87.68 คะแนน และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันทั้ง 2 รูปแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = .368, p = 0.695)
References
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ:เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แบเนจเม็นท์.
เหมวรรณ ชัยมณี. (2561). การประเมินผลการเขียนภาษาอังกฤษแบบพลวัตในระดับประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 46(1), 236-247.
ศิริชัย กาญจนวสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (Modern test theories) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Arva, V., & Medgyes, P. (2000). Native and non-native teachers in the classroom. System, 28(3), 355–372.
Bueno, C. (2006). Native English teacher required. TESL-EJ, 10(1). Retrieved from http://tesl-ej.org/ej37/f1.html
Ling, C., & Braine, G. (2007). The attitudes of university students towards non-native speaker English teachers in Hong Kong. RELC Journal, 38(3), 257–277.
Medgyes, P. (2001). When the teacher is a non-native speaker (3rd ed.). Boston, MA: Heinle & Heinle.
Maubach, A. M., & Morgan, C. (2001). The relationship between gender and learning styles amongst a level modern languages students. Language Learning Journal, 23(1), 41–47.
Sahin, I. (2005). The effect of native speaker teachers of English on the attitudes and achievement of learners. Journal of Language and Linguistic Studies, 1(1), 29–42.