ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
ความเสมอภาค, การลงทุนทางการศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจงบประมาณด้านการศึกษาประจำปี 2562 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 128 แห่ง ผลการวิเคราะห์สภาพการลงทุนทางการศึกษาพบแรงตึงตัวด้านการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพิงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่สูง ผลการวิเคราะห์ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาโดยใช้ดัชนีความไม่เสมอภาค 4 แบบ ได้แก่ สัมประสิทธิ์ความแปรผัน สัมประสิทธิ์จินี สัมประสิทธิ์ไทล์ และความความแปรปรวนที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น พบว่าการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมยังคงความเสมอภาคโดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปแต่การจัดสรรงบประมาณหมวดเงินรายได้กลับพบความไม่เสมอภาคค่อนข้างสูงโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ (1) ผลักดันแผนการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง (2) จัดสรรเงินอุดหนุนพิเศษเพื่อลดความไม่เสมอภาคโดยเน้นการให้เงินโอนตามผลผลิต (3) สร้างมาตรการเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรจากแหล่งทุนต่าง ๆ และ (4) สร้างระบบและกลไกการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาผ่านภาษีท้องถิ่นเพื่อการศึกษา
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2562). สถิติข้อมูลโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงมหาดไทย. (2562). แนวทางการประมาณการรายรับและจัดทำงบประมาณรายจ่ายรองรับเงินอุดหนุนทั่วไปด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
เฉลิมชัย รัตนประยูร. (2537). ความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2557). ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นและแนวทางการขยายฐานรายได้ท้องถิ่นบทสังเคราะห์จากความรู้จากการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลิฟฟวิ่ง.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, ดารุณี พุ่มแก้ว, และ พิชิต รัชตพิบุลภพ. (2557). ความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลิฟฟวิ่ง.
นิคม นาคอ้าย. (2539). การพัฒนาเทคนิควิธีวิเคราะห์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับ: การประยุกต์ใช้โปรแกรมเอชแอลเอ็ม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2555). การใช้โปรแกรม HLM ในการวิเคราะห์พหุระดับและการตีความผลที่ได้. กรุงเทพมหานคร: พีเอส พริ้นท์.
ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์. (2557). ความไม่เท่าเทียมกันทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบล. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 18(2), 99-119.
พัชราภรณ์ อ่วมอรุณ. (2547). การวิเคราะห์ความเสมอภาคของการลงทุนทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยรายได้และการจ่ายเงินของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562. (2562, 12 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 60 ง. หน้า 1-8.
เรืองอุไร อมรไชย. (2541). การวัดการกระจายและแนวโน้มการกระจายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัชวดี หุ่นพยนต์, อำพา แก้วกำกง, และ วทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2560). การกระจายอำนาจทางการศึกษา จากนโยบายสู่การปฎิบัติ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยและเกาหลีใต้. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(2), 49-69.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2557). การวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการกระจายอำนาจของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
ภาษาอังกฤษ
Allison, P. D. (1978). Measures on inequality. American Sociological Review, 43(6), 865-880.
Berne, R., & Stiefel, L. (1984). The measurement of equity in school finance: Conceptual, methodological, and empirical dimensions. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press.
Boadway, R. (2007). Grant in a federal economy: A concept perspective. Washington D.C.: World Bank.
Boadway, R., & Shah, A. (2009). Fiscal federalism: Principle and practice of multiorder government. Cambridge: Cambridge University Press.
Cohn, E., & Geske, T. G. (1990). The economics of education. Cambridge, MA: Ballinger Publishing Company.
Cowell, F. A. (1995). Measuring inequality. London: Prentice Hall.
Eric, A. H., & Eom, M. (2012). Resource and output equity as a mechanism for assessing education opportunity in Korean middle school education. Journal of Education Finance, 38(1), 259-265.
Figini, P. (2000). Measuring inequality: On the correlation between indices. New York: Syrause.
Picus, L. O., Odden, A., & Fermanich, M. (2004). Assessing the equity of Kentuckey’s SEEK formula. Education Finance, 29(4), 315-336.
Toutkoushin, R. K., & Paulsen, M. B. (2016). Economics of higher education. Dordrecht: Springer.
Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory. New York: Prenice-Hall.