การศึกษาการใช้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลของนิสิตครุศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล, กระบวนการเรียนรู้, ความคิดรวบยอดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล, กระบวนการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล, เทคโนโลยีเว็บ 2.0บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และกระบวนการภายใต้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลของนิสิตครุศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตสาขาคอมพิวเตอร์คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เรียนรายวิชาการเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 37 คนได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสังเกตการใช้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างภาคเรียนและภายหลังจบภาคเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากผังความคิด ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลที่ผู้เรียนส่วนใหญ่เลือกมี 3 ด้านคือด้านบุคคล ประกอบด้วยผู้สอน ตนเอง และเพื่อนร่วมชั้นเรียน ด้านแหล่งข้อมูลเนื้อหาสาระประกอบด้วยหนังสือหรือเอกสารที่ผู้สอนแจก แหล่งข้อมูลที่ผู้สอนแบ่งปันบนเน็ตเวิร์กไดรฟ์ แหล่งข้อมูลจากการค้นหาด้วยโปรแกรมค้นหา เว็บไซต์เครือข่ายสังคม เว็บไซต์แหล่งความรู้เจ้าของเนื้อหา หนังสือเอกสารแหล่งอื่น และด้านการสื่อสารได้แก่การสื่อสารแบบเผชิญหน้า ในห้องเรียน การใช้ google drive กลุ่มไลน์ และ บล็อกความรู้ต่าง ๆ 2) ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยกระบวนการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ ด้านบุคคล 44.22 ด้านแหล่งข้อมูลเนื้อหาสาระ 38.54 และด้านการสื่อสารเป็น 17.97 ตามลำดับ
References
Attwell, G. (2007). Personal learning environments the future of e-learning?. Lifelong Learning, 2(1), 1-8.
Bates, A. T. (2015). Teaching in a digital age. Retrieved from https://opentextbc.ca/teachinginadigitalage/chapter/5-2-what-is-a-learning-environment/
Chatti, M. A. (2007). Personal-environments-loosely-joined. Retrieved from http://mohamedaminechatti.blogspot.com/2007/01/personal-environments-loosely-joined.html
Dabbagh, N., & Kitsantas, A. (2011). Personal learning environments, social media, and self-regulated learning: A natural formula for connecting formal and informal learning. Internet and Higher Education, 15(1), 3–8. doi:10.1016/j.iheduc.2011.06.002
Downes, S. (2005). E-learning 2.0. Retrieved from https://elearnmag.acm.org/featured.cfm?aid=1104968
Kompen, R. T., Edirisingha, P., & Mobbs, R. (2008). Building web 2.0-based personal learning environments – A conceptual framework. Paris: EDEN Research. Retrieved from https://lra.le.ac.uk/bitstream/2381/4398/1/EDEN ResWksp 2008 Torres Kompen et al Web 2.0 PLE paper.pdf
Harmelen, M. V. (2006). Personal learning environments. In Proceedings of the sixth IEEE international conference on advanced learning technologies (ICALT '06) (pp. 815-816). Washington DC: IEEE Computer Society.
Mott, J. (2010). Envisioning the post-LMS era: The open learning network. Future of Higher Education, 33(1), 1-9. Retrieved from https://er.educause.edu/articles/2010/3/envisioning-the-postlms-era-the-open-learning-network
Schaffert, S. (2006). Semantic social software: Semantically enabled social software or socially enabled semantic web?. Retrieved from http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.107.8638&rep=rep1&type=pdf
Schaffert, S., & Hilzensauer, W. (2008). On the way towards personal learning environments: Seven crucial aspects. eLearning Papers, 2(9), 1-11.
Valtonen, T., Hacklin, S., Dillon, P., Vesisenaho, M., Kukkonen, J., Hietanen, A. (2012). Perspectives on personal learning environments held by vocational students. Computers and Education, 58(2), 732-739.