การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สำหรับประเทศไทย

Authors

  • เกศกนก ณ พัทลุง ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๑๘๐
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐
  • ศิริเดช สุชีวะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐

Keywords:

รูปแบบ, ประสิทธิผล, โรงเรียนมัธยมศึกษา, MODEL, EFFECTIVE, SECONDARY SCHOOL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาองค์ประกอบหลักและ องค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากแนวคิดทฤษฎี ๒) ศึกษาองค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากพหุกรณี และ ๓) พัฒนารูปแบบโรงเรียน มัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทย มีวิธีดำเนินการวิจัย ๕ ขั้นตอน ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน ๔ โรงเรียน การตรวจสอบความเหมาะสมและความ เป็นไปได้ของรูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยใช้การอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบ ย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลจากแนวคิดทฤษฎี ประกอบด้วย ๙ องค์ประกอบหลัก ๔๕ องค์ประกอบย่อย ๒) องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล จากพหุกรณี ประกอบด้วย ๙ องค์ประกอบหลัก ๔๒ องค์ประกอบย่อย ๓) รูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีประสิทธิผลสำหรับประเทศไทยมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบ ของรูปแบบมี ๖ ส่วน คือ ๑) ชื่อรูปแบบ ๒) หลักการ แนวคิดพื้นฐานและความเป็นมาของรูปแบบ ๓) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ๔) ลักษณะของรูปแบบ ๕) แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ ๖) เงื่อนไข ความสำเร็จของรูปแบบ ชื่อรูปแบบคาดหวัง มุ่งมั่น สัมพันธ์ ร่วมมือ ลักษณะของรูปแบบประกอบด้วย ๙ องค์ประกอบหลัก คือ ๑) การมีวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจนและมั่นคง ๒) มีมาตรฐานและความคาดหวังสูง สำหรับนักเรียนทุกคน ๓) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๔) มีวัฒนธรรมของการสื่อสารและความร่วมมือ อย่างทั่วถึง ๕) หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐาน ๖) การ กำกับการเรียนรู้และการสอนอย่างสมำเสมอ ๗) การพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีจุดเน้น ๘) สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้ และ ๙) การมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสูงของครอบครัวและชุมชน

 

The purposes of this qualitative research were 1) to study the components and elements of an effective secondary school from theories, 2) to study the components and elements of an effective secondary school from multiple case studies and, 3) to develop an Effective Secondary School Model for Thailand. The process of the study comprised five steps. The population included 4 selected secondary schools. An Effective Secondary School Model for Thailand was verified by the connoisseurship. The tools for the research included content analysis, observation, interview, and the suitability and possibility assessment form. The collected data were analyzed through content analysis, frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. The research results can be summarized as follows: Multiple case studies have shown that an effective secondary school from theories includes 9 components and 45 elements. This model is appropriate and the possibility of implementing it is at the highest level. The component of this model includes 6 parts which were 1) the name of this model, 2) the principle, primary idea and background, 3) the objectives, 4) the characteristics, 5) the way to implement it and 6) the conditions for success. The Model of an Effective Secondary School for Thailand is Expectation, Commitment, Relation, and Collaboration Model includes 9 components which are having 1) a clear, consistent and shared vision, 2) high standards and expectations for all students, 3) transformational leadership, 4) a thorough culture of collaboration and communication, 5) curriculum and instruction, measurements and assessments aligned with standards, 6) frequent monitoring of learning and teaching, 7) focused professional development, 8) a supportive learning climate and environment and 9) high levels of family and community involvement.

How to Cite

ณ พัทลุง เ., อุสาโห ช., & สุชีวะ ศ. (2014). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สำหรับประเทศไทย. Journal of Education Studies, 42(3), 1–18. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/22201