รูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Authors

  • แพรรัตน สบเสถียร นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
  • กมล สุดประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากตัวอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๔ แห่ง ของประชากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๔๐ แห่ง เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและคณาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย(M) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เปรียบเทียบนัยสำคัญด้วย ค่า t –test

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน รูปแบบหลักทุกรูปแบบปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางดังนี้ รูปแบบหลักที่ ๔: การพัฒนาโดยยึดผู้ให้การอบรมเป็นฐานมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.90)รูปแบบหลักที่ปฏิบัติรองลงไปคือ รูปแบบหลักที่ ๒: การพัฒนาโดยยึดปัจเจกบุคคลเป็นฐาน( X = 2.89)รูปแบบหลักที่ ๑: การพัฒนาโดยยึดองค์กรเป็นฐาน ( X = 2.88) และรูปแบบหลักที่ ๓: การพัฒนาโดยยึดบทบาทของนักการศึกษาเป็นฐาน ( X = 2.79) ตามลำดับรูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีการปฏิบัติเป็นอันดับ ๑ มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง คือ รูปแบบหลักที่ ๔: การพัฒนาโดยยึดผู้ให้การอบรมเป็นฐาน ( X = 4.28) รูปแบบหลักที่พึงประสงค์รองลงไปคือ รูปแบบหลักที่ ๒: การพัฒนาโดยยึดปัจเจกบุคคลเป็นฐาน ( X = 4.17) รูปแบบหลักที่ ๓: การพัฒนาโดยยึดบทบาทของนักการศึกษาเป็นฐาน( X = 4.13) และรูปแบบหลักที่ ๑: การพัฒนาโดยยึดองค์กรเป็นฐาน( X = 4.09) ตามลำดับ

 

The research objectives were: (1) to study the current and desired state of RajabhatUniversity faculty development and (2) to propose faculty development models for RajabhatUniversity in rapid change. Quantitative research from a sample of 14 Rajabhat Universitieswas used, drawing from a population of 40 Rajabhat Universities. Instruments used werean interview schedule and a questionnaire constructed by the researcher. Administratorsand instructors were key informants. Statistics used were frequency, percentage, mean,standard deviation, and t - test.

The research results were as follows: (1) Currently, there were many principalmodels of faculty development being mostly practiced in Rajabhat Universities. Thesewere as follows: the fourth principal model called the Trainer-Based Model ( X = 2.90),the second principal model called the Individual-Based Model( X = 2.89), the f irst principalmodel called the Organization-Based Model( X = 2.88) and the third principal modelcalled the Role-Based Model ( X = 2.79) , respectively. (2) The desired principal models offaculty development needed to be practiced in Rajabhat Universities as follows: the fourthprincipal model called the Trainer-Based Model ( X = 4.28), the second principal model calledthe Individual-Based Model( X = 4.17), the third principal model called the Role-BasedModel ( X = 4.13) and the f irst principal model called the Organization-Based Model( X = 4.09), respectively.

Downloads

How to Cite

สบเสถียร แ., สุดประเสริฐ ก., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. (2014). รูปแบบการพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว. Journal of Education Studies, 40(1), 192–201. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20898