อิทธิพลของสมรรถนะผู้บริหาร โรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • รัตนา ตั้งศิริชัยพงษ์ นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ชาตรี นาคะกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สมคิด สร้อยนํ้า อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สุกิจ สุวรรณชัยรบ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ อิทธิพลของสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๔๐๐ โรงเรียน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระดับสมรรถนะในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความรู้ความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน และด้านทักษะปฏิบัติการของผู้บริหารโรงเรียน ๒) โมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรแฝง ๗ ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ ๒๙ ตัวแปร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่า χ2 = 428.08, df = 304, P = 0.521, RMSEA = 0.034, GFi = 0.90 และAGFi = 0.97 โดยพบว่า ตัวแปรสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีอิทธิพลทางตรงระหว่าง ๐.๒๑ - ๐.๕๒ มีอิทธิพลทางอ้อมระหว่าง ๐.๑๐ - ๐.๔๑และมีอิทธิพลรวมระหว่าง ๐.๑๐ - ๐.๖๓ ซึ่งตัวแปรทุกตัวร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร้อยละ ๖๕

 

The purposes of this research were to study the level of competency of schooladministrators and the causal relationship model of the competency of schooladministrator’s effect on school academic administration in secondary schools in the Northeast. The research samples consisted of 400 schools in the Northeast using multistagesampling. The major f indings were as follows: 1) The school academic administrationwas at a high level for the characteristics of school administrators, the knowledge ofschool administrators and the practical skills of school administrators. 2) The developedmodel consisted of 7 latent variables and 29 observed variables. It was valid and agreedwith the empirical data with χ2 = 428.08, df = 304, P = 0.521, RMSEA = 0.034, GFi = 0.90and AGFi = 0.97. The competency of school administrator’s variables directly effectedthe effectiveness of secondary school academic administration with R2 equal to 0.21- 0.52,the indirect effect with R2 equal to 0.10 - 0.41 and the total effect with R2 equal to0.10 - 0.63. The variables explained 65% of the effectiveness of secondary school’sacademic administration in the Northeast.

Downloads

How to Cite

ตั้งศิริชัยพงษ์ ร., นาคะกุล ช., สร้อยนํ้า ส., & สุวรรณชัยรบ ส. (2014). อิทธิพลของสมรรถนะผู้บริหาร โรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Education Studies, 40(1), 87–99. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20884