การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีภูมิหลัง และการสนับสนุน ทางด้านการเรียนของผู้ปกครองแตกต่างกัน

Authors

  • สุพร ชัยเดชสุริยะ อาจารย์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี กลุ่มศิลปะ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
  • พัชรี วรจรัสรังสี อาจารย์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

Abstract

การวิจัยระยะยาวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวม ๓ รุ่น ที่มี ภูมิหลัง และการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รุ่นปีการศึกษา ๒๕๔๕, ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๗ รวม ๓ รุ่น จำนวนรวม ๖๔๔ คนและผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามใช้แบบบันทึกรวบรวมข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้ง ๓ รุ่น รวม ๖ ครั้ง ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลด้านการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนปีเว้นปีรวม ๓ ครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า ๑) ในภาพรวมทั้ง ๓ รุ่นเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้านคือ ด้านประเภทของนักเรียน ค่าเฉลี่ยของนักเรียนประเภทบุคคลภายนอกสูงกว่าประเภทสวัสดิการการศึกษาสงเคราะห์ และบุตรบุคลากร และด้านความพร้อมและความรู้พื้นฐาน ค่าเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มที่มีความพร้อมและความรู้พื้นฐานสูงมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่มีความพร้อมและความรู้พื้นฐานปานกลางและตํ่า เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจ และการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง ๒) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรุ่นจากการวัดซํ้า ๖ ครั้ง พบว่าค่าเฉลี่ยจากการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยลดลงเป็นแบบเส้นตรง มีค่าเฉลี่ยในการวัดครั้งที่ ๒ หรือ ๓ สูงสุด และในการวัดครั้งที่ ๕ ตํ่าสุด ๓) เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีความแตกต่างกันด้านความพร้อมและความรู้พื้นฐานต่างกันด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจ และด้านการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง พบว่า ไม่มีความแตกต่างของแนวโน้ม แต่พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกัน และ ๔) ตัวแปรความพร้อมและความรู้พื้นฐาน สถานภาพทางเศรษฐกิจ และด้านการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง อธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ ๒๕.๒ ๑๘.๘ และ ๒๓.๑ ตามลำดับ

 

The objective of this 6-year longitudinal research was to compare the learningachievement of the 3 badges of Chulalongkorn University Demonstration School Elementarystudents with different backgrounds and guardians’ learning support. The research sampleconsisted of 644 grade 1 students entering at the three academic years 2002, 2003, and2004, and their guardians. The research instruments used were data recording formsand questionnaires. Students’ learning achievements were collected yearly using a datarecording form 6 times, and guardians’ learning support was collected every other year usinga questionnaire. Data analyses utilized descriptive statistics, repeated measured analysis ofvariance and multiple regression analysis.

The major research f indings were: 1) the comparison of learning achievement as awhole group of 3 badges revealed a statistically signif icant difference across the groups ofstudents with different backgrounds in 2 variables; Regarding student type, the general grouphad a higher mean than the welfare group and the welfare aid group. Regarding readiness andinitial knowledge, the high group had a higher mean than the moderate and low groups, andthey had control over economic status and guardians’ learning support. 2) The comparisonof learning achievement for each badge showed a statistically signif icant difference across6 measurements, with a linearly decreasing trend, the highest means at the second orthird measurement, and the lowest mean was at the f ifth measurement. 3) The comparisonof the changing trends of learning achievements across groups of students with differentreadiness and initial knowledge, economic status and guardians’ learning support revealedthat there were no differences intrends apart from the learning achievement means fromeach measurement. And 4) readiness and initial knowledge, economic status and guardians’learning support could account for 25.2, 18.8 and 23.1 percent of the variances in learningachievement.

Downloads

How to Cite

ชัยเดชสุริยะ ส., & วรจรัสรังสี พ. (2014). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่มีภูมิหลัง และการสนับสนุน ทางด้านการเรียนของผู้ปกครองแตกต่างกัน. Journal of Education Studies, 40(1), 73–86. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20880