รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครู ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: บทเรียนจากโครงการพระราชทาน ความช่วยเหลือทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม พหุกรณี
Keywords:
แนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, การจัดการศึกษา, การพัฒนาครู, The Initiatives of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn, Education Provision, Teacher DevelopmentAbstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียนที่ดีในการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือทางการศึกษาของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาและการพัฒนา ครู โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) วิเคราะห์จุดเด่นในการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนว พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒) สังเคราะห์ประเด็นการจัดการศึกษา และการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ๓) สร้างรูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีวิธีการดำเนินวิจัย ๒ วิธีหลัก คือ การศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม ใน ๒ พื้นที่ที่มีความแตกต่างเรื่องขนาดโรงเรียน คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดปรางค์ อำเภอปัว จังหวัดน่าน และโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดนิโครธาราม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนว พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีลักษณะเป็น “กงล้อการพัฒนา” ประกอบด้วย กำ เปรียบเสมือน ฐานคิด ที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้ง ๖ ทิศ คือ การศึกษา การจัดการ ความรู้ ครู นักเรียน และชุมชน โดยมีหลักคิดในการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนว พระราชดำริฯ ๓ ประการ คือ ๑) การพัฒนาผู้เรียนอย่างเสมอภาค ๒) การพัฒนาผู้เรียนให้มีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และ ๓) การพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม กง เปรียบเสมือน กิจปฏิบัติ ที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างมีแนวทาง ๓ ด้าน คือ การเรียน การสอน และ การสร้างสัมพันธ์ ซึ่งมีหลักปฏิบัติสำคัญ ๑๒ ประการ คือ ๑) ความร่วมมือ ๒) ความสำนึกในหน้าที่ ๓) ความศรัทธา ๔) ปัญญา ๕) ความคิด สร้างสรรค์ ๖) การให้ความสำคัญตามลำดับ ๗) แนวทางเชิงรุก ๘) ความสอดคล้องกลมกลืน ๙) ความ ต่อเนื่อง ๑๐) ความพอเพียง ๑๑) การอนุรักษ์ และ ๑๒) การบูรณาการ โดยมี ดุม เปรียบเสมือน วงจร กระบวนการ ที่มีการตรวจตรา/เติมตรง/ตามติด/ต่อเต็มที่ไม่มีที่สิ้นสุดและยั่งยืน
This research aimed to study the best practices of educational management and teacher development of Prahbhariyadidhamma Schools in accordance with the initiatives of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. The f irst objective was to study, the second was to synthesize, and the third was to create the model of the educational management and teacher development of those Prahbhariyadidhamma Schools. Documentary research and f ield research were used. Wat Prang Prahbhariyadidhamma School and Wat Nicrotharam Prahbhariyadidhamma School, parts of Nan Prahbhariyadidhamma Schools Group in accordance with the initiatives of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn were selected to be the case studies by size criteria. A “Wheel of Development” model was formed as the educational management and teacher development model of Prahbhariyadidhamma Schools in accordance with the initiatives of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. The development for equality, the development for human dignity and the development for holistic quality were the 3 core principles of educational management and teacher development in 6 areas: provision, management, knowledge, teachers, students, and community. The 12 keys of success were the cooperation, conscious, faith, wisdom, creativity, prioritization, proactive, harmonization, continuity, suff iciency, conservation and integration. The sustainability came from the continuous process: monitoring, supporting, following, and fulf illing. The wheel carried the holistic knowledge: academic, career, and religious knowledge for developing children and youth in remote areas.
คำสำคัญ: แนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดการศึกษา การพัฒนาครู
Keywords: The Initiatives of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn, Education Provision, Teacher Development