การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่าง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

Authors

  • นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์ นิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย การศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา อาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒) สร้างและพัฒนาโปรแกรมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ ๓) ศึกษาผลการทดลองใช้โปรแกรมฯการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ การสร้างและพัฒนาโปรแกรม และการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ซึ่งผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมาแล้ว ๒ ภาคการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น๒๔๔ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยกึ่งทดลอง คือ นิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน ๓ คู่ (๖ คน) แบ่งเป็นนิสิตกลุ่มทดลอง ๓ คน และนิสิตกลุ่มควบคุม ๓ คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบวัดระดับความสามารถในการคิดไตร่ตรอง แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน และแบบสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) นิสิตมีปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ๕ประเด็น (๑) ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวน และขั้นตอนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (๒) ขาดความชัดเจนของรูปแบบการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนว่าควรเป็นการทำวิจัยแบบ ๕ บท หรือการทำวิจัยแบบ เล่มเล็กหลายเล่ม (๓) นิสิตมีภาระงานมาก ประกอบกับการทำวิจัยต้องใช้เวลามาก และนิสิตไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ ทำให้ไม่มีเวลาในการทำวิจัย และรู้สึกว่าการทำวิจัยเป็นการเพิ่มภาระงาน (๔) ขาดงบประมาณในการทำวิจัย และ (๕) ปัญหาที่เกิดจากตัวนิสิตเองเช่น ความเกียจคร้าน ความไม่สม่ำเสมอในการจดบันทึก ๒) โปรแกรมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดไตร่ตรองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านระบบการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๔ แบบ คือการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง การชี้แนะ การเขียนบันทึกหลังการสอนอย่างไตร่ตรอง และการเขียนกรณีศึกษา ๓) ผลการทดลองใช้โปรแกรมฯ พบว่าสามารถพัฒนาการคิดไตร่ตรองของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมฯ ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมฯ ในกรณีศึกษาที่ ๑ และ ๒

 

The research objectives were (1) to study the classroom action research (CAR)working conditions of student teachers during professional teaching practices; (2) tocreate and develop a CAR program promoting the reflective thinking of student teachersduring professional teaching practices; and (3) to study the results of program. Thisstudy was conducted in accordance with research and development design whichconsisted of 3 phases: survey, creation and development of program and quasiexperiment.The samples of the survey phase were 244 pre-service teachers who hadalready passed professional teaching practices. The research instruments were theclassroom action research questionnaires. In the quasi-experiment phase, the samplecomprised 6 persons divided equally into an experiment and control group using thethree matching cases method. The research instruments used in this phase were thereflective thinking test, teaching practices observation form and relationship betweenteacher and student observation form. The data analysis was conducted with contentanalysis and descriptive statistics.

The results of the research were as follows: 1) There were 5 issues regarding theproblems and obstacles of student teachers in doing CAR: (1) lack of knowledge aboutthe principles, process and how to do CAR; (2) no clarity in the CAR form between fivechapters research or small research books; (3) student teachers had heavy workloadsand the assumption was that CAR involved greater work and time; (4) lack of budget todo research and (5) the pre-service teachers’ personal problems such as laziness andirregularity of note-taking. 2) CAR program aimed to develop student teachers’ reflectivethinking process in doing CAR during professional teaching practices which consisted of4 activities: continuous practical training, coaching, post teaching reflective diary writing and case study writing. 3) The result of the quasi-experiment showed the experimentgroup samples using CAR program had higher reflective thinking than those (cases 2and 3) in the control group without using the CAR program.

Downloads

How to Cite

ชินประหัษฐ์ น., & สุวรรณมรรคา ส. (2014). การพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตครูระหว่าง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. Journal of Education Studies, 39(2), 85–103. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20837