การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันเพื่อ เสริมสร้างความเข้าใจที่คงทนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง

Authors

  • ปิยวดี วงษ์ใหญ่ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และประธานคณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์
  • ไพโรจน์ น่วมนุ่ม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันโดยใช้วิธีการ ออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลในด้านความเข้าใจที่คงทน และศึกษาพัฒนาการของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กลุ่มทดลอง กลุ่มเดียวและมีการทดสอบหลังทดลอง ๒ ครั้ง เพื่อออกแบบและหาประสิทธิผลของการจัดการเรียน การสอนเรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒๑ คน ใช้เวลา ๑๐ สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ วัดความเข้าใจเรื่องฟังก์ชัน (หลังการทดลอง และหลังการทดลอง ๓ สัปดาห์) ใบกิจกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการผ่านเกณฑ์เป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้การทดสอบทวินาม การทดสอบทีแบบรายคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป มีความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันแต่ละด้านผ่านเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๑๐ ภายหลัง การทดลอง ๓ สัปดาห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีความคงทนของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันแต่ละ ด้านและ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันทั้งสามด้านดีขึ้น อย่างเป็นลำดับ

 

The purposes of this study were to design mathematical instruction on the topic function by using the backward design and authentic learning, and to study its effects on the content understanding of function and its retention. Additionally, the study also examined the development of content understanding. Research and development was conducted along with one experimental group and posttest – retention test design in order to find out the effectiveness of the mathematical instruction. The samples of 21 grade ten students were selected. The duration of the experiment was 10 weeks. The research instruments consisted of the tests of content understanding of function, worksheets, observation form for learning behavior, interview form and summary student form. Data were analyzed by binomial test, paired t -test and content analysis.

The results revealed that more than 70% of the students participating in mathematics instruction displayed content understanding of function that met criteria at a .10 level of significance as well as the students also displaying retention in the content understanding of function after a three-week period. The students gradually improved their content understanding in all three aspects: definition and notation, representation, and application.

Downloads

How to Cite

วงษ์ใหญ่ ป., & น่วมนุ่ม ไ. (2014). การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันเพื่อ เสริมสร้างความเข้าใจที่คงทนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง. Journal of Education Studies, 39(2), 54–67. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20834