ผลของโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบวงจรที่มีต่อการพัฒนา สมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Authors

  • กรัณย์ ปัญโญ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบวงจร โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีนักกีฬากรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้ารับการทดสอบ จำนวน ๑๐ คน ผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกก่อนและหลังการฝึก สรุปได้ดังนี้ ๑) การทดสอบ แรงบีบมือ พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๑.๕๕ กิโลกรัม ๒) การทดสอบแรงเหยียดขา พบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๕.๓๖ กิโลกรัม ๓) การทดสอบยืนกระโดดไกล พบว่า พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๕.๙๐ เซนติเมตร ๔) การทดสอบยืนก้มตัว พบว่า ความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๓.๑๐ เซนติเมตร ๕) การวัดปริมาตรความจุปอด พบว่า ความจุปอดเพิ่มขึ้น ได้ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๓๔๕ มิลลิลิตร ๖) การทดสอบวิ่งเก็บของ ๔๐ เมตร พบว่า ความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้น โดยได้ ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๐.๔๑ วินาที ๗) การทดสอบวิ่งเร็ว ๕๐ เมตร พบว่า ความเร็วเพิ่มขึ้น โดยได้ ค่าเฉลี่ยผลต่าง เท่ากับ ๐.๔๓ วินาที

 

The objectives of this research were to compare the biomotor abilities of Chiang Mai University personnel athletes before and after the training program. The data of the ten athletes were collected before and after a circuit training program. The results were as follows: 1) According to the hand grip strength test, average arm muscle strength increased by 1.55 kilograms when after training. 2) According to the leg extension test, average leg muscle strength increased by 5.36 kilograms after training. 3) According to the standing long jump test, the average explosive power of leg muscle strength increased by 5.90 centimeters after training. 4) According to the stand and reach test, average flexibility increased by 3.10 centimeters. after training. 5) According to the lung volume capacity measurement, average vital capacity increased by 345 millimeters after training. 6) According to the shuttle run test, average agility increased by 0.41 seconds when after training. 7) According to the 50-meter sprint test, average speed increased by 0.43 seconds after training.

Downloads

How to Cite

ปัญโญ ก. (2014). ผลของโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบวงจรที่มีต่อการพัฒนา สมรรถภาพทางกลไกของนักกรีฑาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Journal of Education Studies, 39(2), 35–53. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20832