การเรียนรู้ของสมเด็จครู ผู้ทรงเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม

Authors

  • มัทนียา พงศ์สุวรรณ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา
  • กรรณิการ์ สัจกุล อาจารย์อาวุโส สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นปราชญ์หรืออัจฉริยบุคคล ที่รอบรู้และมีพระปรีชาสามารถอย่างอัศจรรย์ในศิลปะทุกสาขา ทั้งด้านจิตรกรรมและลายเส้น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์ ความรอบรู้และ พระปรีชาสามารถด้านต่างๆ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เกิดจากการที่ทรงเรียนรู้ ฝึกหัด ทดลองและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามอัธยาศัยตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดการเป็นนักเรียนเพื่อเรียนรู้สิ่งที่ สนพระทัย ทรงเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาและต่อเนื่องตลอดพระชนม์ชีพ ทรงใช้หลากหลายวิธีในการเรียนรู้ ทั้งการจดบันทึก วาดภาพประกอบ รวมทั้งทรงใช้ลายพระหัตถ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้กับบัณฑิตผู้ใฝ่ใจ ในวิทยาอย่างเดียวกัน หรือที่ทรงเรียกว่าเพื่อนนักเรียน สิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเรียนรู้และบันทึกไว้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญและมีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า ของคนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง

 

H.R.H. Prince Narisaranuvatiwongse was highly intuitive of and knowledgeable about all disciplines of traditional Thai art, including painting, sketch, sculpture, architecture, crafting, literature, music, and performance. His wisdom and well-roundedness were derived from his own continual study, practice, experiment and development since a very young age. H.R.H. Prince Narisaranuvatiwongse was in favor of learning things of his interests and he was an continuous and life-long learner. To acquire knowledge, H.R.H. Prince Narisaranuvatiwongse utilized multiple learning approaches including taking notes, drawing pictures and diagrams, and exchanging letters with similar-interest graduates or classmates. Knowledge which H.R.H. Prince Narisaranuvatiwongse learned and recorded has been a crucial learning resource for the academic studies of younger generations.

Downloads

How to Cite

พงศ์สุวรรณ ม., สัจกุล ก., & ฟักจำรูญ ส. (2014). การเรียนรู้ของสมเด็จครู ผู้ทรงเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม. Journal of Education Studies, 41(4), 229–244. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/20588